信仰的路径 玉佛

8576
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

เส้นทางพระแก้วมรกต ประมาณนี้ครับ
- เกาะลังกา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 800
- เมืองนครธม ในอาณาจักรขอมโบราณ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1000
- เมืองอโยชปุระ หรือเมืองอโยธยาโบราณ ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช
- เมืองกำแพงเพชร ในสมัยพระยาวิเชียรปราการ
- เมืองเชียงราย ในสมัยเจ้ามหาพรหม ประมาณปี พ.ศ. 1979
- นครเขลางค์ หรือเมืองลำปาง ระหว่างปี พ.ศ. 1979 – พ.ศ. 2011
- เมืองเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2011 – พ.ศ. 2096 ในสมัยพระเจ้าติโลกราช
- เมืองหลวงพระบาง ในปี พ.ศ. 2096
- เมืองเวียงจันทน์ ระหว่างปี พ.ศ.2096 - พ.ศ. 2322
- กรุงธนบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2322 – พ.ศ. 2327
- กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 - ปัจจุบัน

------------------------------------------
ประวัติ(ตำนาน)

ภาคแรก (การสถาปนา)

ตามตำนานพระแก้วมรกต ในบันทึกแนบท้ายพระราชพงศาวดารเหนือ ระบุไว้ว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) โดยเริ่มแรก เริ่มจากพระนาคเสนเถระได้ปวารณา จะสร้างพระพุทธรูปให้สืบต่อพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช จึงได้เป็นกังวลว่าจะหาวัสดุใดมาสร้างพระพุทธรูปนี้ ด้วยปริวิตกว่า หากใช้ไม้ ก็จะไม่อยู่ถึง 5000 พระชันษา หากใช้เหล็ก ก็อาจจะถูกนำไปหลอมละลายเมื่อคราวจะมีผู้ทำลาย หากจะใช้หินศิลาธรรมดา ก็จะดูเป็นพระพุทธรูปสามัญทั่วไป จึงได้ตกลงปลงใจเลือกใช้แก้วมณีมาจำหลักพระพุทธรูป เพียงแต่ยังกังวลว่าจะใช้แก้วมณีชนิดใด

การนั้น สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้จำแลงกายเป็นมานพธรรมดา ไปกราบนมัสการพระคุณเจ้าว่า ตนทั้งสองเป็นพ่อค้าเดินทางมาหลายที่ ได้ไปพบแก้วรัตนโสภณมณีโชติ อันมีรัตตนายกดิลกเฉลิม 3000 ดวง สีแดงสุกใส ที่เขาวิบุลบรรพต (เวฬุบรรพต) ณ ดินแดนห่างไกลโพ้น คิดว่าเป็นแก้วที่เหมาะสมควร แก่การนำมาจำหลักพระพุทธรูปให้สืบพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช ว่าแล้วดังนั้น เมื่อถึงเขาวิบุลบรรพต สมเด็จพระอมรินทราธิราช จึงโปรดให้พระวิสสุกรรมเทพบุตร เข้าไปนำแก้วรัตนโสภณมณีโชติมา แต่พระวิสสุกรรมทรงกราบทูลว่า ยักษ์ผู้เฝ้าแก้วนั้นมิยอมมอบให้ สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงเสด็จด้วยพระองค์เอง พวกยักษ์ก็ยังกราบทูลไม่ถวายแก้วรัตนโสภณมณีโชติเช่นเดิม โดยทูลเหตุผลประกอบว่า แก้วนี้เป็นแก้วคู่บุญบารมีพระบรมศุลีจอมไกรลาส เป็นแก้วชั้นมหาจักรพรรดิ มิสามารถถวายให้ได้จริง สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงตรัสตอบว่า จะทรงนำไปจำหลักพระพุทธรูปให้สืบทอดพระพุทธศาสนาตลอดล่วง 5000 พระชันษา เหล่ายักษ์จึงประชุมกันและลงความเห็น มอบแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) ให้ไปแทน

เมื่อถึงวัดอโศการาม จึงทรงมอบให้พระนาคเสน และพระวิษุกรรมจึงทรงจำหลักพระพุทธรูปองค์นี้ถวายดังพระประสงค์ เมื่อจำหลักเสร็จเรียบร้อยเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม ตามประสงค์ของพระนาคเสนเถระแล้ว พระนาคเสนจึงบอกบุญไปยังอุบาสก อุบาสิกา สร้างมหาวิหารใกล้กับอโศการาม แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐานไว้เหนือแท่นรัตนบัลลังก์ และปฐมฐาปนาถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต
นอกจากนี้ในตำนานยังระบุด้วยว่าขณะที่ประดิษฐานอยู่นั้น พ่อค้าวานิช และพระมหาราชาธิราชจากประเทศต่างๆที่มาสักการะ ต่างพบเห็นพระแก้วมรกตเปล่งพระรัศมีออกมางามหาที่เปรียบมิได้ เป็นที่น่าพิศวงยินดียิ่งนัก พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนเห็นเหตุการณ์นั้น จึงทราบด้วยฌานสมาบัติ และพยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ เห็นทีจะไม่ได้ดำรงพระชันษาตลอด 5000 พระพุทธศักราช หากจะให้ครบ ควรจะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ

ภาค 2 (เสด็จลังกาทวีปและแผ่นดินกัมพูชา)

พุทธศักราช 800 โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต จึงลงความเห็นกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องอัญเชิญหนีมหาภยันตราย จึงอัญเชิญพระรัตนตรัย และพุทธบริษัท คือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตในฐานะพระพุทธ พระไตรปิฎกธรรม ที่ประดิษฐานในวิหารนั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์ พ่อค้าวานิชและชาวเมืองปาฏลีบุตรกลุ่มหนึ่ง ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ

พุทธศักราช 1000 โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี) หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง พระศีลขันธ์ภิกษุ และพระอาจารย์(ไม่ได้ระบุนาม) ได้ทำการพิจารณาพระไตรปิฎก ท่านเกิดสงสัยว่าพระไตรปิฎกธรรมในแผ่นดินพม่ารามัญทั้งปวงนั้น เห็นจะผิดอักขระไม่ต้องตามกระแสพระพุทธฎีกา จึงทูลพระเจ้าอนุรุทธไปตามนั้น พระเจ้าอนุรุทธได้ทรงสดับก็มีพระศรัทธาเลื่อมใส จึงตรัสถามถึงที่ตั้งของพระไตรปิฎกธรรมฉบับที่ถูกต้อง พระศีลขันธ์จึงทูลว่า พระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ถูกต้องนั้น คือพระไตรปิฎกฉบับพระพุทธโฆษาจารย์เถระที่ลังกาทวีป

พระเจ้าอนุรุทธจึงมีพระราชโองการ ดำรัสสั่งเสนาบดีให้แต่งสำเภาเชิญพระราชสาส์นสองลำ ให้แต่งพระราชสาส์นเป็นภาษามคธจารลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏ และเครื่องราชบรรณาการอันเป็นต้นว่าดินสอแก้ว น้ำมันดิน พลอย ทับทิม รัตนชาติหลากชนิด และสิ่งของอื่นๆเป็นอันมาก แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่ทรงคุณธรรม 8 รูป ซึ่งรวมถึงพระศีลขันธ์ภิกษุและพระอาจารย์ พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ราชบุรุษ ทั้งราชทูต อุปทูต ตรีทูต และไพร่พลพอสมควร คุมพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ โดยที่พระองค์เองประทับสำเภาพระที่นั่ง และพลทหารบริวารอีกหนึ่งลำ รวมเป็นสี่ลำ มุ่งหน้าสู่ลังกาทวีป

ราชทูตพุกามเข้าเฝ้าถวายสาส์น พระเจ้าขัตติยศรีรามวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปก็เสด็จรับ ด้วยพระองค์เองที่พระราชวังริมฝั่งอ่าวลังกา พระสังฆราชลังกาก็ให้การอุปสมบทพระสงฆ์พุกามทั้ง 8 รูปเป็นภิกษุบริสุทธิ์พระเจ้าอนุรุทธ ดำรัสสั่งเสนาอำมาตย์ราชบัณฑิต ระดมคัดลอกพระไตรปิฎกและคัมภีร์สัททาวิเสส ซึ่งครั้งนั้น ชาวเมืองลังกาก็ช่วยคัดเพิ่มอีกสำรับหนึ่ง

พระเจ้าอนุรุทธจึงขอพระราชทานพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต จากพระเจ้าขัตติยศรีรามวงศ์ ซึ่งด้วยเป็นพระราชไมตรีอันมาช้านานนั้น จึงต้องจำพระทัยยกให้ แต่ด้วยที่แผ่นศรีเกษตรพุกามนั้น มิได้เป็นแผ่นดินที่พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตจะประดิษฐาน เรือพระที่นั่งพระเจ้าอนุรุทธและเรือพระไตรปิฎกฉบับชาวพุกามคัดลอก สามารถกลับถึงกรุงพุกามได้เพียงสองลำ ส่วนเรือทรงพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต และพระไตรปิฎกฉบับชาวลังกาช่วยคัดลอกถูกพายุมรสุมพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน

พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา มีพระรับสั่งว่า สำเภาซึ่งบรรทุกพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตกับพระไตรปิฎกนั้น เป็นของพระเจ้ากรุงพุกามจริงและทรงเห็นแก่พระราชไมตรี จึงทรงให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย แต่ถึงมิได้พระแก้วกลับมา พระเจ้าอนุรุทธก็ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และแก้ไขพระไตรปิฎกที่ผิดเพี้ยนทั้งหมดเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 1172

ภาค 3 (เสด็จประทับ เชียงแสน ล้านนา ล้านช้าง)

หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย
ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร พระเจ้าพรหมทัศน์เจ้านครหิรัญนครเงินยางเชียงแสนทรงทราบว่าพระบรมราชาธิราช เจ้าเมืองกำแพงเพชรมีพระแก้วมรกต พระเจ้าพรหมทัศน์มีพระราชประสงค์ใคร่จะได้ ไปเป็นศรีนครแก่นครเชียงแสนจึงทูลขอต่อพระเจ้ากำแพงเพชร

ด้วยสันถวไมตรีพระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้นครเชียงแสน ต่อมานครเชียงแสนเกิดมีศึกกับนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงแสนในเวลานั้นได้พิจารณาว่า หากนำพระแก้วมรกต หลบภัยสงครามไปด้วยอาจจะเกิดอันตรายกับพระแก้วมรกตได้ จึงได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงแสน จากนั้นกษัตริย์และพระราชวงศ์อพยพผู้คนลงมาทางใต้ ส่วนเมืองเชียงแสนก็ถูกตีแตกและ ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในที่สุด เป็นอันจบส่วนของตำนาน เพราะหลังจากมีการพบพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ในเจดีย์ป่าญะ วัดพระแก้วงามเมืองนั้น ก็เป็นเหตุการณ์ที่ได้มีการบันทึกตรงกันในทุกสำนัก หากแต่คลาดเคลื่อนเรื่องวันเดือนปีไปบ้าง เนื่องจากการนับศักราชต่างกัน
Wat Phra Kaew酒店位于Kamphaeng Phet的中心。是一个毗邻宫殿区的重要寺庙,以及Phra Sri Sanphet寺在大城府或者在素可泰中间的玛哈泰寺被认为是Kamphaeng Phet历史公园考古遗址的一部分,该公园与素可泰历史公园一起被宣布为世界遗产在“素可泰历史城镇和相关历史城镇”的名称下,大多数建筑物都是由红土建造的
 寺庙的墙壁是一个圆形的红土,整个高度约一米。寺庙的地图是长方形的,与Kamphaeng Phet平行。寺庙的墙壁完全缺乏。建筑物的内部主要使用红土。寺庙中间有一座大型锡兰圆塔作为总统。方底在基地的展台周围设了一个摊位。摊位上站着一只狮子,但都被损坏了。
 Phra Kaeo被挖掘后的这座寺庙。发现了35个不同的宝塔基地,8个大大小小的寺庙,3个大教堂,表明它是一个大寺庙首先非常重要目前,音乐播放和Kam...
read more
原名玉佛寺或笏帕銮森林考察雅(竹林1 )后来在1977年,已经举行了第一次在寺庙后的玉佛寺。这项措施已被重新命名为“玉佛寺”已经被测量发现引为在今年2521位于翡翠珠宝修道院。翡翠雕像或今日佛供奉在玉佛寺在曼谷举行。
由于历史有它在1897年的第三个轴的统治是清迈的统治者。绝地放弃了天空被分割之一。并发现了舍利塔内佛金身。后来我发现了一个裂缝,用绿色翡翠佛创建。这是玉佛
目前玉佛寺,清莱玉佛寺供奉。。相传公元前玉佛时代1979年的历史,在清迈的位列第三的轴。玉佛寺,清莱被雷电劈到破裂。发现了一个镀金的雕像塔倒下了。因此,请到了大礼堂。工作人员进行清理后。一尊玉佛就出现了。这个消息被带到清迈。成千上万的人前来祭拜。...
read more
Phra Kaew Don Tao Temple位于Wiang Nuea街道是一座古老而美丽的寺庙最后千年曾经是Mahanee Rattana Patimakorn的供奉佛像(Phra Kaeo Emerald Buddha)自1979年以来已有32年历史。这座寺庙的原因被称为Phra Kaew Don Tao。传说有这个这座寺庙的玛哈西拉在西瓜中发现了玉佛。 (北方语言叫麦涛)并被雕刻成佛像。但后来直到现在才在Wat Phra That Lampang Luang供奉
Phra Kaeo Don Tao Temple的重要地方包括拥有佛像元素的大型佛塔。缅甸艺术博物馆,这是一个美丽的大佛像。寺庙供奉着与这座寺庙一样古老的斜倚佛像。还有大礼堂和兰纳博物馆。前往寺庙穿过Ratchadaphisek大桥,右转进入Phra Kaew路,大约1公里。...
read more
该庙是一个巨大的宝塔的部位,最初280英尺高,其中部分被在1545年毁于地震。在同一时间,Chedi Luang寺坐落崇敬的翡翠佛像供奉目前在曼谷的玉佛寺。其中Chedi Luang寺最引人注目的建筑特色,是一个宏伟的娜迦楼梯装饰在教堂的门廊前。该看viharn设有9米的青铜大佛(1438和1441之间进行)。巨大的树从门口不远处被认为安置城市,勒芒还是圣保罗英塔建的守护神。... read more
 黎明寺,是在大城时代建造的一座寺庙,位于湄南河的西面,原名叫做“槟榔青寺”槟榔青区,位于寺庙区,在后来改名为“外槟榔青寺”因为有新建成的寺庙在同一区,但是位于更加靠近曼谷艾运河,名为“内槟榔青寺”后来在2310年当国王想搬皇宫的想法,和吞武里军队乘船而下,当到达“外槟榔青寺”的时间刚好是黎明,所以才把“外槟榔青寺”更名为“通知寺”为了纪念光明已经到来的时间刚好是黎明,当国王下令把皇宫从大城搬到这里和吞武里可以建造新的皇宫,有区法院,位于“通知寺”的中间。
 皇宫才不允许有佛教寺庙,除了在吞武里时代的这段时间,相信说“通知寺”是一座“国民寺”还有就是说这座寺...
read more
寺的玉佛,人们称为玉佛寺,国王下令,2325年和博物馆一起建立,建成于2327年。该庙建在宫殿之内,该寺庙按照斯里兰卡庙建造,在大城时代 ,这是一座没有和尚驻守的寺庙。。它是继承的未来的大城和会议。               国王一世,下令说,在玉佛寺里面供奉泰国的佛像。建成后,恢复他的统治。这是一个重要的措施。 50岁的国王拉玛一世宣布恢复。拉玛五世拉玛七世国王和普密蓬·阿杜德国王的统治是泰国人民的福祉。
     在过去的历史中的200年,在过去的2525恢复之际。保护民族遗产的建筑和艺术杰作为了保持最好的泰国艺术的美丽和价值。玉佛寺,这是加上了一段时间。禅房在寺庙屋顶的统治,与三个不同的网点和黄金装饰玻璃四个大的重叠,寺...
read more

กำลังเป็นที่นิยม

จัดทริปของคุณ

ร้านอาหารใกล้เคียง