น้ำตกปาโจ น้ำตกปาโจ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ของผืนป่าบูโด มีน้ำไหลตลอดปี มีน้ำตก ๔ ชั้น ชั้นแรกมีขนาดใหญ่และสวยที่สุด สายน้ำไหลตกจากลานผาหินกว้าง สูง ๖๐ เมตร ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ ในช่วงฤดูฝนน้ำตกปาโจจะยิ่งสวยงามมาก สภาพป่า เป็นป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น กะลอ หลุมพอ ฯลฯ ตามพื้นป่ามีหวาย ปาล์ม หลากหลายชนิด สัตว์ที่พบเห็นง่ายได้แก่ ค่างแว่นถิ่นใต้ นกกาฝากท้องสีส้ม เป็นต้น    

[391/0][2020-04-09]

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหารก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2552 โดยนายรัศมินทร์ นิติธรรม มีแนวคิดเพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ และนำเอาเอกลักษณ์หรือศิลปะดั้งเดิมทางด้านภูมิปัญญามาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ร่วมสมัย สู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้ชุมชนอย่างยั่งยืน พิพิธภัณฑ์จัดเก็บรวบรวมศิลปะวัตถุหลากหลายประเภท ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ท้องถิ่นและของชนชั้นปกครอง อาทิเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น เครื่องมือจับสัตว์น้ำศาสตราวุธ เช่น กริช อุปกรณ์เกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ เช่น ชุดการแสดงมะโย่ง เครื่องดนตรี ภายในออกแบบและจัดแสดง แบ่งเป็น ห้องภูมิหลัง จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยลังกาสุกะ ห้องเครื่องใช้ไม้สอย จัดแสดงเครื่องใช้ไม้สอยของชาวมลายูในชายแดนภาคใต้ เช่น เครื่องทองเหลือง ห้องพิธีกรรม จัดแสดงแบบประเพณีพิธีกรรมของชาวมลายูในชายแดนใต้ เช่น การแห่นก มะโย่ง และแม่พิมพ์ขนม ห้องสายน้ำ จัดแสดงวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพประมงทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มของชาวมลายูในพื้นที่ ห้องศาสตราวุธ จัดแสดงและนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับศาตราวุธ เช่น กริช ดาบ ห้องนันทนาการ จัดแสดงวัสดุอุปกรณ์สำหรับนันทนาการ เช่น ที่ดักนกคุ่ม กรงตั๊กแตนประชันเสียง สถานที่แนววัฒนธรรมท้องถิ่นของจ.นราธิวาส เป็นอีกหนึ่งท่องเที่ยวที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ในชุมชน อาชีพชาวบ้านในพื้นที่ และยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มาเลเซีย

[416/0][2020-04-09]

น้ำตกวังทอง น้ำตกวังทอง ตั้งอยู่บริเวณบ้านบองอ ตำบลบองอ อำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาสเป็นน้ำตกที่สายน้ำไหลผ่านโขดหินน้อยใหญ่มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่สามารถเล่นน้ำได้ มีน้ำไหลตลอดปีระยะห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 53 กิโลเมตร น้ำตกวังทอง เป็นน้ำตกหนึ่งในสองแห่งที่อยู่ในบริเวณแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำวัง อันเกิดจากแนวเขาผีปันน้ำ สภาพทางเป็นทางดินอัดลูกรังระยะทางจากปากทางเข้าหมู่บ้านถึงน้ำตกประมาณ 3.5 กิโลเมตร ทางเลียบไม่ขึ้นเขา สภาพเป็นที่นาในหุบเขาเล็กจนถึงชั้นน้ำตกชั้นที่ 1 น้ำตกแห่งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่อุทยานประจำ ไม่มีค่าธรรมเนียมเข้าชม มีที่จอดรถก่อนถึงน้ำตกประมาณ 300 เมตร เดินทางถึงชั้นสองของน้ำตกใช้เวลาประมาณ 5 นาที น้ำตกแห่งนี้มีจำนวนกว่า 10 ชั้น มีชั้นสูง ๆ กว่า 200 เมตร มีแอ่งน้ำใส ลึกบางแห่ง

[798/0][2020-04-09]

น้ำตกเชิงคีรี น้ำตกเชิงคีรี (น้ำตกตามุง) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของชุมชนบ้านตามุง ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และมีป่าไม้เขตอุทยานแห่งชาติซีโปเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ มีน้ำลำคลองหลายสาย สามารถใช้ในการเกษตรและน้ำประปาจากฝ่าย พระราชดำริ ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง เป็นน้ำตกที่สวยงามและเริ่มเป็นที่รู้จักและมาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดรายได้แก่คนในชุมชน สร้างรายได้โดยไม่ต้องออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ชาวชุมชนได้ร่วมกันป้องกันการทำลายป่าไม้เพื่อให้ ต้นน้ำมีความสมบูรณ์ ช่วยรักษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวให้มีความปลอดภัยอีกด้วย  

[582/0][2020-04-09]

ทะเลหมอกบ้านบูยง ทะเลหมอกเขาบูยง อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส จุดเริ่มต้นมาจากที่เยาวชนในหมู่บ้านขึ้นไปเห็นความสวยงาม จนนำมาสู่ความร่วมแรงร่วมใจของคนในหมู่บ้าน พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้านบนเป็นพื้นที่ราบตามแนวสันเขา สามารถกางเต็นท์ ตั้งแคมป์ได้ กิจกรรมที่เป็นที่นิยมของชาวบ้านทางภาคใต้ คือการชงกาแฟ จุดนี้สามารถมองเห็นได้เกือบ 360 องศา มองเห็นหมู่บ้านด้านล่าง ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ และอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส 

[719/0][2020-04-09]

พิพิธภัณฑ์บ้านโละจูด พิพิธภัณฑ์บ้านโละจูดเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวของอำเภอแว้ง ได้จดทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.2526 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มาช่วยการจัดหมวดหมู่ เป็นการริเริ่มของนายเจ๊ะปอ ลอดีง อดีตกำนันตำบลโละจูด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 โดยใช้บ้านของตนเป็นศูนย์ดำเนินการก่อสร้าง อาคารพิพิธภัณฑ์แบบทรงไทย แล้วออกรวบรวมโบราณวัตถุตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ บ้านบาลา บ้านซะ บ้านสาวอ และบ้านโละจูด ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนดั้งเดิม ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์มรดกไทย ศิลปวัตถุที่รวบรวมไว้มีอายุระหว่าง 100 - 350 ปี มีอยู่ประมาณกว่า 200 ชิ้น แบ่งประเภทออกเป็น เครื่องใช้สอย เช่น เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องทองเหลือง เครื่องดินเผา เครื่องจักสาน และเครื่องโลหะ ขอสับช้าง กระดิ่ง  อาวุธ ได้แก่ หอก ดาบ มีด พร้า ขอ ขวานชนิดและแบบต่าง ๆ กริช เครื่องประดับ ได้แก่ หัวสัตว์ เขาสัตว์ และสัตว์สตาฟต่าง ๆ ดอกไม้  เงินตราต่าง ๆ   

[527/0][2020-04-09]

อ่างเก็บน้ำปีแนมูดอ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านปีแนมูดอ ในพื้นที่ตำบลบูกิต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้มีพระราชดำริ ให้กรมชลประทานพิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำปีแนมูดอ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก บริเวณเชิงเขาเหนือพื้นที่ดังกล่าว กรมชลประทานได้พิจารณาโครงการสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศออกแบบและจัดเข้าแผนงานก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดเล็กปีงบประมาณ 2525

[422/0][2020-04-09]

อุโมงค์ลำเลียง เหมืองแร่ทองคำโต๊ะโมะ ต่อมารัฐบาลไทยเข้าไปดำเนินการหลังจากเกิดสงครามอินโดจีน และปัจจุบันได้เลิกกำเนินกิจการแล้ว แต่ยังคงเหลือสิ่งก่อสร้าง เช่น บ้านพัก ที่ทำการเดิม อุโมงค์ 4 อุโมงค์หลัก และอุโมงค์ย่อยอีกเป็นจำนวนมาก บริเวณโดยรอบประกอบด้วยป่าไม้นานาชนิด มีลำธารน้อยจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนียภาพในยามเช้าจะปรากฏทะเลหมอกเป็นลานกว้างสวยงาม นักท่องเที่ยวที่ต้องการพักค้าง สามารถพักได้ที่บ้านพัก ซึ่งดัดแปลงเป็นที่รองรับนักท่องเที่ยวที่มาพักค้างคืนได้ประมาณคืนละ 25 - 30 คน หากนักท่องเที่ยวต้องการชมการร่อนทองแบบพื้นเมืองจะมีการสาธิตการร่อนทอง และสามารถเห็นแร่ทองคำจริง

[1069/0][2018-01-11]

สมพงภูเขาทอง ซึ่งเป็นจุดที่มีผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกับป่าดงดิบที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด มีต้นสมพงหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า กะพงยักษ์ อายุมากกว่า 100 ปี ยืนตระหง่านอยู่ สมพงษ์ต้นนี้ วัดขนาดเส้นรอบวงได้ 25 เมตร ขนาด 27 คนโอบ และมีความสูง 30 เมตร ความสูงของพูพอน หรือรากมหัศจรรย์ถึง 4 เมตร ตั้งอยู่เขต อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาสสมพงต้นนี้ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมิพลอดุลยเดช ทรงเยี่ยมราษฎร ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาสปัจจุบัน ยังอยู่ในป่าดงดิบสมบูรณ์ และเป็นความภูมิใจของผู้รักป่าและสิ่งแวดล้อม

[812/0][2018-01-11]

ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ สุคิริน ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่พี่น้องเชื่อสายจีนจากทุกสารทิศของประเทศไทยและประเทศมาเลเซียนิยมมาท่องเที่ยวและกราบไหว้ สักการะ และ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานสมโภชศาลเจ้าแม่ ฯ ขึ้นเป็นประจำ เพราะที่อำเภอสุคิริน เป็นสถานที่เดิมที่ได้ก่อตั้งศาล ฯ ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ ตั้งอยู่ที่ บ้านโต๊ะโมะ หมู่ที่ ๓ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

[1015/0][2018-01-11]

วัดภูเขาทอง สุคิริน วัดภูเขาทองแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ ๒ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ซึ่งถ้าหากนักท่องเที่ยวเดินทางไปไม่ถูก นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาดูแผนที่ท่องเที่ยว 3 ภาษา ได้ ณ ที่ว่าการอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

[1209/0][2018-01-11]

ภูศาลา เป็นจุดที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่งดงาม มองเห็นชายแดนและป่าในมาเลเซีย ถ้ามาสุคิรินแบบมีเวลาน้อย หรือไม่อยากลำบากเดินไกลต้องที่นี่เลย เพราะใช้เวลาในการเดินไม่ถึงชั่วโมงเพราะที่นี่ระยะทางไม่ถึงกิโล ทางดีมาก ที่สำคัญเป็นเส้นทางที่ทากน้อยที่สุดในสุคิริน .. ดูจากระยะทางของการเดินความสะดวกสบายของเส้นทางแล้ว บอกตามตรงว่าความคาดหวังกับวิวสวยๆ ไม่ได้คาดหวังเลย คิดแค่ว่า ขอแค่มีที่ให้กางเต้น ฟังเสียงธรรมชาต นอนดูต้นไม้ แค่นี้ก็พอใจแล้ว..."แต่แล้วก็ผิดคาด"...เพราะเจอกับสิ่งที่เห็นในภาพ วิวทิวทัศน์ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาทุกๆนาที ทะเลหมอกที่เคลื่อนไหวสวยงาม คุณลุงพรกล่าวว่านี่คือความงดงามที่ยังไม่เคยเกิดเพราะที่ผ่านมาฝนตกชุกตลอดเวลา ทำให้มองเห็นทัศยภาพเช่นนี้ได้ไม่มากนัก นับว่าเป็นความโชคดี เป็นฤกษ์ดีต้อนรับต้นปี "แหล่มเลยอ่ะ" "..เดินน้อยวิวร้อยล้าน.."  

[1502/0][2018-01-11]

เนินพิศวง สุคิริน เนินพิศวง มีความพิเศษที่แตกต่างจากสถานที่อื่น ๆ ก็คือ เมื่อเรามองด้วยสายตาเปล่าว่า ที่ตรงนี้เป็นทางลาดชัน แล้วลองวางสิ่งของลงไป ตามปกติแล้ว สิ่งของที่เราวางลงไปเมื่อสักครู่จะต้องไหลลงไป แต่...ที่เนินพิศวงแห่งนี้มีความมหัศจรรย์ หรือ ประหลาดเกิดขึ้น กล่าวคือ ทางลาดชันเมื่อสักครู่ที่เรามองเห็นด้วยสายตาเปล่า ความเป็นจริงแล้วมันเป็นทางลาดลง สิ่งของที่เราวางลงไปเมื่อสักครู่จะไหลย้อนขึ้นมาในทิศทางที่ตรงข้าม ซึ่งสร้างความตื่นตา ตื่นใจ ให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชมสถานที่แห่งนี้เป็นจำนวนไม่น้อย

[883/0][2018-01-11]

ตำหนักสุคิริน เป็นครั้งแรกดังปรากฏในลายพระหัตถ์ที่ได้พระราชทานเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่และสมาชิกนิคมฯว่า “สุคิริน ขอให้นิคมนี้ จงมีความเจริญรุ่งเรือง คนอยู่ในศีลธรรม เพื่อความสุขของตนเองและส่วนรวม” การรับเสด็จในครั้งนั้น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่นิคมฯ ได้กราบบังคมทูลเชิญพระองค์ท่านเสด็จประทับ ณ เรือนรับรองนิคมฯ ซึ่งเป็นอาคารหลังเล็กๆ เท่านั้น ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ เนินเขาไอดีแย เดิมเป็นพื้นที่ของ นายเจ๊นาแว หะมะ เป็นคนบ้านเอราวัณ อำเภอแว้ง ได้เข้ามาปรับพื้นที่ป่ารกร้างเป็นคนแรกประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๔ เพราะเข้ามาหาพื้นที่ทำกิน ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณนิคมในปัจจุบัน สมเด็จย่า พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายเจ๊ะนาแว หะมะ เข้า เฝ้าเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายที่ดินบริเวณเขาไอดีแยให้นิคมก่อสร้าง ตำหนักประทับ ทั้งนี้ สมเด็จย่า ได้พระราชทานข้าวสาร ๒ กระสอบและเงินจำนวน ๕๐๐ บาท ให้กับ นายเจ๊ะนาแว หะมะ ผู้ถวายที่ดินให้พระองค์ นายเจ๊ะนาแว หะมะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๕๘ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๐ อายุ ๘๒ ปี ตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาประจำหมู่บ้าน อาชีพเลี้ยงช้างและรับจ้างขนส่งสิ่งของ มีบุตร ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน ได้แก่ ๑. นายดือเลาะ เจ๊ะนาแว ๒. นางกามาลอ เจ๊ะนาแว ๓. นายรอยาลี เจ๊ะนาแว ๔. นายเจ๊ะวอนิ เจ๊ะนาแว ๕. นางแยนะ เจ๊ะนาแว ๖. นางรอกีเยาะ เจ๊ะนาแว ทั้งหมดมีอาชีพ ทำสวนยางพารา ต่อมาในปี ๒๕๐๘ นายสุวรรณ รื่นยศ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ในขณะนั้น ได้ดำริให้นิคมฯ ดำเนินการก่อสร้างตำหนักขึ้น เพื่อทูลเกล้าถวายเป็นที่ประทับระหว่างปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่นิคมฯ โดยกรมประชาสงเคราะห์ให้การสนับสนุนงบประมาณ ดังนั้น ตำหนักจึงได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ มีนายสิน วงศ์เพชร ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองคนแรก เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง มีนายประวัติ รัตนชำนอง หัวหน้าฝ่ายช่าง กรมประชาสงเคราะห์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๙ เดือน จึงแล้วเสร็จและได้กราบบังคมทูลถวายตำหนักแด่พระองค์ท่าน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาและในปี ๒๕๑๐ สมเด็จเด็จย่า ได้เสด็จประทับ ณ ตำหนักสุคิริน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานคำว่า“สุคิริน” ให้เป็นชื่อของตำหนัก มีความหมายเป็นศิริมงคลว่า “พันธุ์ไม้อันเขียวชอุ่ม” ซึ่งสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้ และพืชพรรณไม้นานาชนิด ชื่อดังกล่าว จึงถูกตั้งเป็นชื่อของนิคมสร้างตนเองสุคิริน และกิ่งอำเภอสุคิริน ในเวลาต่อมา และชาวบ้านมักเรียกนิคมสุคิรินในภาษามลายูว่า “นิคมเมาะรายอ” หรือ "นิคมเจ๊ะนาแว"  

[941/0][2018-01-11]

สนามบินนราธิวาส ท่าอากาศยานนราธิวาส ตั้งอยู่ที่บ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ปัจจุบันมีทางวิ่ง 2,500 เมตรเพื่อรองรับอากาศยานลำใหญ่ในอนาคต เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2556 ได้เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ เดินทางจากท่าอากาศยานนราธิวาสไปท่าอากาศยานเมืองญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดรอาระเบีย ด้วยเครื่องบินของสายการบินไทย สิ่งอำนวยความสะดวกที่สนามบิน ห้องพักผู้โดยสาร ร้านอาหาร บริเวณชั้น 1 ของอาคารผู้โดยสาร ร้านขายของที่ระลึก บริเวณชั้น 1 ของอาคารผู้โดยสาร ห้องน้ำ - ตั้งอยู่ทั้งสองด้านของชั้น 1 ของสนามบิน ตู้กดเงินอัตโนมัติ บริเวณชั้น 1 ของอาคารผู้โดยสาร ข้อมูลที่จอดรถ - ลานจอดรถกลางแจ้ง บริเวณหน้าอาคารผู้โดยสาร เคาเตอร์เช็คอิน ไทยแอร์เอเชีย อาร์แอร์ไลน์ การบินไทย และ การบินไทยสมายล์ - ภายในอาคารผู้โดยสาร บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าอาคารผู้โดยสาร รถประจำทางทั่วไปและรถลีมูซีน จากท่าอากาศยานนราธิวาส – ตัวเมืองนราธิวาส - ขนส่งนราธิวาส จากท่าอากาศยานนราธิวาส – อำเภอตากใบ – ด่านศุลกากรอำเภอตากใบ จากท่าอากาศยานนราธิวาส – อำเภอสุไหงโก-ลก – ด่านศุลกากรอำเภอสุไหงโก-ลก จากท่าอากาศยานนราธิวาส – อำเภอสุไหงปาดี จากท่าอากาศยานนราธิวาส – อำเภอระแงะ (ต่อรถลีมูซีนเข้าตัวเมืองแล้วต่อรถโดยสาร-ประจำทางเข้าอำเภอระแงะ) รถสองแถวประจำทางเข้าอำเภอเมืองนราธิวาส สถานีรถไฟตั้งอยู่ห่างจากท่าอากาศยานนราธิวาส ประมาณ 35 กิโลเมตร ผู้โดยสารสามารถนั่งรถรีมูซีน จากท่าอากาศยานนราธิวาส ไปยังขนส่งนราธิวาส และต่อรถประจำทางไปยังสถานีรถไฟ อำเภอระแงะได้

[210/0][2018-01-11]

งานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ปัตตานี งานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ปีพุทธศักราช 2554 จังหวัดปัตตานี วันที่ 31 ธันวาคม 2553 1 มกราคม 2554 ณ ลานเอนกประสงค์ ริมฝั่งแม่น้ำปัตตานี เชิงสะพานเดชานุชิตและบริเวณลานวัฒนธรรม ถนนสายบุรี เทศบาลเมืองปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี กิจกรรมภายในงาน การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การแสดงดนตรี พิธีทำบุญตักบาตรอาหารแห้ง การถวายจังหันเช้าแด่ภิกษุสามเณร การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม สินค้า การมอบของขวัญและของรางวัลแก่ผู้เข้าร่วมงาน การนับถอยหลังสู่ปีใหม่ และการจุดพลุ แสง สี เสียง ต้อนรับปีใหม่ ข้อมูลจากhttp://thai.tourismthailand.org

[523/0][2015-05-29]

งานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ sugai kolok countdown to 2011 งานส่งท้ายปีเก่า – ต้อนรับปีใหม่ (SUGAI KOLOK COUNTDOWN TO 2011) วันที่ 31 ธันวาคม 2553 1 มกราคม 2554 ณ บริเวณสวนสิรินธร อำเภอสุไหงโก ลก จ.นราธิวาส กิจกรรมภายในงาน การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การแสดงของนักร้องดังที่มีชื่อเสียงจากประเทศมาเลเซีย การออกร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม สินค้า กิจกรรมการมอบของขวัญและของรางวัลแก่ผู้เข้าร่วมงาน การนับถอยหลังสู่ปีใหม่ และการจุดพลุต้อนรับปีใหม่ การทำบุญตักบาตรและอวยพรวันขึ้นปีใหม่ ข้อมูลจากhttp://thai.tourismthailand.org

[490/1][2015-05-29]

งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ชมการแสดงแสง – เสียง และสื่อผสม กิจกรรมเชิดสิงโตและมังกร พิธีลุยน้ำ – ลุยไฟ ขบวนแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว งานมหกรรมอาหาร 3 วัฒนธรรม

[1447/1][2015-05-29]

งานสมโภชเจ้าแม่โต๊ะโมะ อำเภอสุไหงโกลก การแสดงงิ้ว การออกเกี้ยวขององค์เทพต่าง ๆ ชมขบวนแห่กลองยาวของศิษยานุศิษย์ การแห่มังกร และเอ็งกอ, ขบวนแห่สิงโต พิธีประมูลวัตถุมงคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีขึ้นบันไดมีดอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งต้องทำด้วยความศรัทธาเลื่อมใสในองค์เจ้าแม่ จึงจะสามารถขึ้นบันไดมีดได้ ประเพณีเทกระจาดไหว้บรรพบุรุษ

[1468/0][2015-05-29]

งานประเพณีถือศีลกินผัก ศาลเจ้าแม่กวนอิม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนราธิวาส ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้สนใจ เข้าร่วม “ งานประเพณีถือศีลกินผัก ประจำปี 2554 “ ศาลเจ้าแม่กวนอิม จังหวัดนราธิวาส เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อถวายพระพร เนื่องในวันคล้ายวันประสูติองค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมเป็นประจำทุกปี โดยการร่วมสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนราธิวาส ในปีนี้ทางศาลเจ้าแม่กวนอิม จังหวัดนราธิวาส มีกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17 19 มีนาคม 2554 ณ บริเวณศาลเจ้าแม่กวนอิม จังหวัดนราธิวาส ถนน ณ นคร อ.เมือง จ.นราธิวาส โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การสักการะพระบรมสารีริกธาตุจากสาธารณรัฐประชาชนจีน พิธีเบิกเนตรพระ ร่วมพิธีอาบน้ำร้อน อาบน้ำมัน – พิธีลุยไฟ และพิธีสะเดาะห์พระเคราะห์ทุกคืน พิเศษสุดชมการแสดงเชิดสิงโต หนังตะลุงคนเสกฟีโน่ ฯลฯ ข้อมูลและรูปภาพจาก tatnewsthai.org

[1154/1][2015-05-29]