วัดบังลังก์ วัดบัลลังก์ เดิมมีชื่อว่า วัดบัลลังก์ทอง ต่อมาเมื่อทางราชการกำหนดทะเบียนวัดในชนบทขึ้น วัดบัลลังก์ทองจึงตัดคำว่า ทอง ออกเสียเพราะว่าจะได้กะทัดรัดขึ้น จึงเหลือแต่คำว่า "บัลลังก์" สร้างขึ้น ณ หมู่บ้านป่ารัง ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปีกุน พุทธศักราช 2466 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2537 และได้ทำการผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เนื้อที่ประมาณ 160 ไร่ การสร้างวัดในป่ารังอันรกทึบแห่งนี้ ได้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้คือ แท่นศิลาแลงสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ในจอมปลวกใหญ่โผล่ขึ้นมามุมหนึ่ง ในสมัยนั้นมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก มีพรานป่าเข้ามาล่าสัตว์ เสมอ พรานคนหนึ่งมาล่าสัตว์ มีกระต่ายหนีขึ้นไปบนจอมปลวก แต่พรานไม่สามารถยิงกระต่ายได้ และสังเกตว่าสัตว์จะมาอาศัยอยู่ที่จอมปลวกนี้มาก แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะอะไร จนอยู่มาวันหนึ่งมีชาวบ้านมาพบแท่นซึ่งโผล่จากดินจอมปลวก ซึ่งชาวบ้านได้มาสักการะบูชาและบนบานสานกล่าวได้ดังใจคิด ด้วยเหตุนี้ชาว บ้านจึงคิดชวนกันสร้างวัดกันขึ้น เนื่องจากวัดบัลลังก์ เป็นสถานที่แห้งแล้งและกันดารจึงไม่มีพระมาจำพรรษา จนถึง พ.ศ. 2484 ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ พระพร มุนินาโถ มาเป็นเจ้าอาวาส ได้พัฒนาวัดอยู่ได้ระยะหนี่งก็ลาสิกขา หลังจากนั้นวัดบัลลังก์ ก็ขาดเจ้าอาวาส ดังนั้นชาวบ้านจึงได้ปรึกษาหารือและลงมติ นิมนต์ พระอธิการพยุง สุนทโร มาเป็นเจ้าอาวาส

[390/0][2020-04-16]

ครัวกางนา สองพี่น้อง ครัวกางนา เป็นร้านอาหารร่วมสมัยสไตล์ไทยโบราณมีอาหารโบราณที่หากินได้ค่อนข้างยากในราคาไม่แพง เช่น ม้าฮ่อ เมี่ยงกลีบดอกบัว โดยเฉพาะเมนูน้ำพริกปลาย่าง ที่ขอแนะนำให้สั่งเพราะอร่อยมากๆ เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบรสชาติหวานในอาหารอยู่แล้ว พอมากินน้ำพริกอันนี้รู้สึกว่าอร่อยยิ่งขึ้น เพราะรสชาติจัดจ้าน ถึงเครื่อง ไม่หวานนำ ส่วนราคานั้นก็ถือว่าไม่แพงเกินไป เมื่อเทียบกับบรรยากาศร้านที่อยู่ติดทุ่งนา เห็นท้องนาสีเขียวสวยงามก็ทำให้เจริญอาหารได้ดีขึ้นอีก

[364/0][2019-10-27]

เฉิ่ม เฉิ่ม เป็นร้านอาหารสไตล์ผับแอนด์เรสเทอรอง การตกแต่งร้านเป็นสไตล์วินเทจ นอกจะได้บรรยากาศดี  รับลมเย็นสบายแล้ว ที่ร้านยังมีดนตรีสดเล่นในช่วงค่ำของแต่ละวันให้ฟังชิลๆ ระหว่างนั่งกิน และเมนูที่หลากหลาย ตั้งแต่ แกงส้มชะอมกุ้ง ยำถั่วพู กุ้งอบวุ้นเส้น หรือจะเป็นอาหารกินเล่น อย่าง เอ็นไก่ทอด บอนชอนฟรายด์ หรือจะเป็นแหนมซี่โครงหมู ก็เด็ดไม่แพ้กัน หรือจะเป็นเครื่องดื่มที่มีหลากหลายไม่ว่าจะเป็น น้ำผลไม้ปั่น เหล้าปั่น ร้านเฉิ่มเป็นร้านอาหารเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นก๊วนเพื่อน ครอบครัว หรือคู่รัก ที่นี่ก็พร้อมจะบริการเสมอ

[512/0][2019-10-26]

ร้านอาหารนพรัตน์ สุพรรณบุรี ร้านอาหารนพรัตน์ เป็นร้านอาหารไทยจีนเก่าแก่ ที่อยู่คู่กับชาวสุพรรณบุรีมานานเกือบ 40 ปี  มีการคิดค้นสูตรอาหารเพื่อนำมาเป็นเอกลักษณ์ของทางร้าน ตั้งแต่รุ่นบุกเบิกอย่าง เฮียเนี้ยว จนปัจจุบันทายาทรุ่นที่ 3 เป็นผู้ดูแลกิจการ อาหารของที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย เมนูแนะนำของทางร้านที่พลาดไม่ได้คือ เป็ดนพรัตน์ ยำปลาช่อนตะไคร้  ผัดโหงวก้วย หรือจะเป็นของหวานดั้งเดิมอย่าง ออส่วน รสกลมกล่อม และอีกหนึ่งความพิเศษของร้านนพรัตน์ คือ ไม่มีส่วนผสมของผงชูรสในการปรุงอาหาร และทางร้านใส่ใจทุกรายละเอียดในอาหารทุกๆ เมนู

[500/0][2019-10-26]

Three of us ทรี ออฟ อัส Three of us เป็นร้านอาหารไทยฟิวชั่น ภายในร้านตกแต่งสไตล์ English cottage บ้านทรงยุโรปน่ารักกับสวนเล็กๆเหมาะกับการถ่ายรูปมากๆ ที่ร้านมี Wifi ฟรี มีเสื้อยืดที่ระลึกขายให้ซื้อกลับไปได้ มุมถ่ายรูปหลากหลายกว้างขวาง สามารถเดินถ่ายรูปเล่นกันเพลินเลยทีเดียว สำหรับอาหารก็จะมีอาหารไทย จานเดียว สปาเกตตี้ เครื่องดื่มหลากหลายตามใจชอบ แต่ไม่มีพวกเค้กของหวาน ร้านเปิดเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ สี่โมงเย็นถึงสองทุ่ม

[449/0][2019-10-26]

ครัวลุงบิน ร้านอาหาร ครัวลุงบิน ตั้งอยู่ริมถนนสายอู่ทอง-เลาขวัญ ระหว่างการเดินทางไปที่ร้านจะมีวิวทิวทัศน์ของท้องทุ่งและทิวเขา มีความเป็นธรรมชาติ บรรยากาศภายในร้านเน้นความโปร่งสบาย ตกแต่งแบบเรียบง่าย ที่นี่มีอาหารอร่อยๆ หลายอย่าง ทั้งอาหารไทย อาหารป่า อาหารตามสั่งทุกชนิด ร้านอาหารแห่งนี้จึงเหมาะกับการพาครอบครัวและคนรู้ใจมาทานอร่อยๆ ร้านเปิดทุกวัน เวลา 10.00 - 22.00.

[506/0][2019-10-26]

วัดทองประดิษฐ์ บรรยากาศท้องทุ่งนาริมฝั่งคลองสองพี่น้อง มนต์เสน่ห์ที่อยากให้มาสัมผัส ตลาดเล็กๆริมคลองสองพี่น้อง ชาวบ้านต่างนำสินค้าในท้องถิ่นมาขายให้ได้เลือกชิม อาทิ กาแฟโบราณน้ำแข็งดำเข้มข้นหวานมัน ซาลาเปาลอยน้ำ กุ้งเผา ข้าวเหนียวห่อใบตอง และพืชผักในชุมชนมาวางขายกัน ตลาดริมน้ำ สะพานโค้งอยู่บริเวณเดียวกับสุ่มปลายักษ์ที่สามารถเดินขึ้นไปจุดสูงสุดเพื่อชมทัศนียภาพ 360 องศา นอกจากวิวที่สวยงามแล้วก็ยังมีกิจกรรมนั่งเรือชมบรรยากาศถ่ายสวย และสถานที่ติดกันเพียงเดินข้ามสะพานไม้เก่าอายุ 100 ปี ไปกราบไหว้ขอพระประธานในพระอุโบสถวัดทองประดิษฐ์ ที่ชาวบ้านบริเวณนั้น ให้ความศรัทธา จากนั้นแวะไปชมหอชมทุ่งที่หลายรอบไปด้วยท้องทุ่งนาเขียวขจี (พฤษภาคม - กันยายน) หรือมาในช่วงข้าวตั้งท้องก็จะเป็นสีเหลืองทอง (ตุลาคม-ธันวาคม) 360 องศา จากจุดหอชมทุ่งบริเวณ ใกล้เคียงมีชุมชนถักเปลญวน OTOP 4 ดาว ลวดลายสวยงาม เหนียวทนทาน จนได้รับความสนใจจากโรงแรม รีสอร์ท ของไทยเป็นจำนวนมากรวมถึงส่งออกต่างประเทศ และแวะช็อปปลาหมำ สินค้า OTOP ที่ขึ้นเสียง ของอำเภอสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี

[2148/0][2018-11-23]

ครัวกางนา ร้านอาหาร ครัวกางนา ไม่ว่าจะงานราชกาล ปาตี้ สังสรร หรืออะไรต่างๆ คนแถวนั้นเลือกใช้บริการที่นี้ ผ่านเส้นทางนี้อย่าลืมแวะครัวกางนา  อาหารอร่อย ตัวปลาช่อนย่างตัวใหญ่ หรือเมนูอื่นๆ หมูแดดเดียว หรือจะเป็น ตำยำ ปลาช่อยลุยนา อื่นๆอีกมากมาย

[1292/0][2017-07-07]

ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือคุณย่า รายการอาหาร มีทั้ง ก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ น้ำตก น้ำใส เนื้อสด ต้ม เนื้อเปื่อย ลูกชิ้น ก๋วยเตี๋ยวหมู น้ำตก น้ำใส ต้มยำ หมูสด หมูสับ ตับ หมูตุ๋น ลูกชิ้น เกาเหลา เนื้อ หมู หลากหลายเส้น มีทั้งแบบใส่ถุงกลับบ้านหรือทานที่นี่ โดยมีเครื่องเคียงเป็นแคปหมู ขนมถ้วย สำหรับคนที่ชอบกินข้าวก็มี อาหารจานเดียวคอยให้บริการด้วย   ราคาธรรมดา 30 บาท พิเศษ 40 บาท ข้าวเปล่า 10 บาท 

[1952/0][2015-08-12]

10 ที่พัก สุพรรณบุรี ราคาถูก 1. โรงแรมฉัตรแก้ว (Chatkaew Hotel) โรงแรมมาตราฐานราคาประหยัด พักผ่อนสบาย ภายในห้องพักมีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครันเหมาะแก่การมาพักผ่อนหรือหรือมีธุระติดต่อการงานในระแวกใกล้เคียง สะดวกสบายต่อการเดินทาง ราคา 414-800 บาท   2. ดีดี เพลส อพาร์เม้นท์ (DD Place Apartment) ที่พักราคาสบายกระเป๋า บริการเป็นมิตร ห้องพักได้รับการออกแบบอย่างทันสมัย โปร่งโล่งสบาย เพรียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยอย่างครบครัน  ราคา 500-550 บาท   3. โรงแรม ศรีสุพรรณ วิลล่า (Sri Suphan Villa Hotel) โรงแรมที่มีการตกแต่งภายในเป็นแบบโปร่งโล่งให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่พิเศษ และมีบรรยากาศที่แสนอบอุ่นจากการต้อนรับและการบริการจากพนักงาน ราคา 501-1048 บาท   4. คันทรี รีสอร์ท (Country Resort) รีสอร์ทในสไตล์โรงแรมให้ท่านยได้สัมผัสบรรยากาศที่แสนรื่นรนมย์ ภายในห้องพักก็ยังตกแต่งได้อย่างสวยงามทันสมัย สะดวกสบายสะอาดเรียบง่าย พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เหมาะกับท่านที่ต้องการพักผ่อนในวันหยุดสุดพิเศษ ราคา 700 บาท   5. สามชุกรีสอร์ท (Samchuk Resort)  รีสอร์ในอำเภอสามชุกเป็นรีสอร์ทสไตล์โมเดิร์นคันทรี เหมาะกับวันพักผ่อนสบายๆ ห้องพักแต่ละห้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รีสอร์ทห่างจากตลาดร้อยปีสามชุกเพียง 2 กิโลเมตร ราคา 700-900 บาท   6. โรงแรม สองพันบุรี (Songphanburi Hotel) โรงแรมตั้งอยู่ในใจกลางเมืองของจังหวัดสุพรรณบุรี บริการห้องพักมาตราฐาน ทุกห้องได้รับการตกแต่งในสไตล์โมเดิร์น อกจากนี้โรงแรมยังให้บริการห้องพักที่มีร้านกาแฟบริการนวดสระว่ายน้ำห้องประชุมและอื่น ๆ อีกมากมาย ราคา 900-1,000 บาท   7. คันทรี่ เลควิว โฮเต็ล (Country Lakeview Hotel) ที่พักตากอากาศที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้ผู้เข้าพักได้สัมผัสอากาศสดชื่น จากต้นไม้นานาชนิด ห้องพักเน้นความสะอาด และการบริการที่ดี พร้อมมีบริการ ห้องเซาว์น่า spa และนวดแผนไทย ราคา 900 บาท   8. โรงแรมคุ้มสุพรรณ (Khum Suphan Hotel) โรงแรมชื่อดังเมืองสุพรรณบุรีที่มีการออกแบบอย่างลงตัวเพื่อรังสรรค์ความสุขในอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อการพักผ่อนได้อย่างอบอุ่น และสะดวกสบายครบวงจรเต็มทุกรูปแบบ  ราคา 1,000-1,499 บาท   9. โรงแรมวาสิฏฐี ซิตี้ (Vasidtee City Hotel) โรงแรมที่่โดดเด่นทั้งในด้านทำเลที่ตั้ง การออกแบบที่เก๋ไก๋ทันสมัย เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งสำหรับธุรกิจและการพักผ่อนอย่างครบครัน และการบริการอย่างใกล้ชิด อบอุ่น เป็นมิตร ราคา 1,000-1,300 บาท   10. เดิมบาง วิลลา (Doembang Villa) บ้านพักตากอากาศที่ออกแบบมาเพื่อความสะดวกสบาย แก่ผู้เข้าพักโดยเฉพาะโดยมีบ้านพักให้เลือกหลากหลายสไตล์ ให้ท่าได้พักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบเป็นธรรมชาติและเป็นส่วนตัว   ราคา 1,200-6,000 บาท

[1541/0][2015-07-14]

ตลาดสามชุก ตลาดสามชุก รายล้อมด้วยบรรยากาศของบ้านเรือนรวมถึงเรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง ย้อนอดีตกลับไปยุคสมัยที่ตลาดสามชุกเฟื่องฟู ยุคนั้นชาวบ้านจะนำของพื้นเมือง รวมทั้ง เกลือ ฝ้าย แร่ สมุนไพร มาแลกเปลี่ยนซื้อขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ ต่อมาเมื่อริมแม่น้ำสุพรรณ กลายเป็นแหล่งทำนาที่สำคัญ มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ตลาดสามชุกก็กลายเป็นตลาดข้าวที่สำคัญ มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ทำให้ตลาดสามชุกไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะริมน้ำ แต่ยังขยายมาถึงริมฝั่ง โดยแต่ละปีมีการเก็บภาษีได้จำนวนมาก พร้อมๆกับมีการตั้งนายอากรคนแรก ชื่อ “ขุนจำนง จีนารักษ์” ช่วงเวลาเฟื่องฟูของตลาดสามชุกกินเวลานานหลายสิบปี แต่หลังจากที่มีการตัดถนนผ่านสามชุก ผู้คนเปลี่ยนไปใช้ถนนเป็นเส้นทางสัญจรมากขึ้น ส่งผลให้ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และการค้าที่ตลาดสามชุกเริ่มซบเซา แต่ตลาดสามชุกก็ยังคงดำเนินวิถีของตลาดห้องแถวไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยความที่ วิถีชีวิตและลักษณะทางกายภาพของชุมชนตลาดสามชุกมีกาลเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามานับร้อยปี เหตุนี้ประชาคมชาวตลาดสามชุกจึงได้มีการปรับปรุง ฟื้นฟู และร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ของตลาดสามชุกไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ตลาดสามชุกกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง บ้านหลังนี้เป็นบ้านของขุนจำนง จีนารักษ์ ซึ่งเป็นนายภาษีอากรคนแรกและเป็นเจ้าของตลาดสามชุก ได้สร้างบ้านหลังนี้เมื่อ พ.ศ.2459 ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนในครอบครัว รวมทั้งเป็นที่ต้อนรับและพักอาศัยของผู้หลักผู้ใหญ่และแขกบ้านแขกเมืองหลายคนค่ะ”  

[8513/18][2015-05-29]

พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ประกอบด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระคชาธารออกศึก และองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ ในสงครามยุทธหัตถี ที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่าเมื่อปี พ.ศ.2134 ภายในองค์เจดีย์ได้มีการสร้างห้องแสดงประวัติศาสตร์ทั้งภาพแสงสีเสียงและหุ่นจำลอง การยกทัพของพม่าและไทย หลายร้อยตัว เป็นสถานที่ได้ทั้งความรู้และเพลิดเพลิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ได้เสด็จทรงประกอบพิธีบวงสรวง และเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2502 ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ และถือเป็นวันกองทัพไทยด้วยพร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มี งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์เฉลิมฉลองด้วย  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราช สมภพเมื่อเดือน 1 ขึ้น 1 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2098 ณ พระราชวัง จันทรเกษม จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 แห่งสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี อันเป็นพระราชธิดาแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และพระมหาจักรพรรดิ์ พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีคือ สมเด็จพระศรีสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก หงสาวดีบุเรงนองได้นำสมเด็จพระนเรศวรไปยังหงสาวดีเพื่อเป็นตัวประกัน ขณะเมื่อทรงมีพระชันษาได้เพียง 8 พระชันษา ครั้นหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ หงสาวดีนันทบุเรง ขึ้นครองราช ทรงมีพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า มังรายกะยอชะวา (ต่อมาได้สถาปนาเป็น พระมหาอุปราชา) ซึ่งมีนิสัยเย่อหยิ่ง  ครั้งหนึ่งมังรายกะยอชะวาเอาไก่ชนมาชนกับไก่ของสมเด็จพระนเรศวรแล้วแพ้ จึงกล่าวกับพระนเรศวรว่า " อ้ายไก่เชลยที่พลัดบ้านเมืองมา ไม่ครนามือกู" พระนเรศวรจึงตรัสตอบว่า "แม้เป็นไก่เชลย แต่ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่ตีเพื่อความสนุกเลย เดิมพันเอาบ้านเอาเมืองก็ยังได้"สมเด็จพระนเรศวรทรงเจริญพระชันษาในราชสำนักหงสาวดี พร้อมกับฝีมือการต่อสู้ที่กร้าวแกร่ง ต่อมาพระศรีสุพรรณกัลยาณีได้เสียสละอย่างสูงสุด เดินทางไปถวายตัวกับพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เพื่อแลกตัวสมเด็จพระนเรศวรกลับยังกรุงศรีอยุธยา ครั้งหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้เรียกให้พระนเรศวรยกทัพไปร่วมทัพที่กรุงหงสาวดี เพื่อจะไปตีเมืองอังวะ แต่ได้ออกอุบายให้ พระยาเกียรติพระยาราม สองขุนศึกมอญลอบปลงพระชนม์ แต่พระยาเกียรติพระยารามได้นำความไปเล่าให้พระมหาเถรคันฉ่องซึ่งเป็นพระอาจารย์ฟัง พระมหาเถรจึงนำพระยาเกียรติพระยารามเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวแก่สมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงมีปฐมบรมราชโองการประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแครง ว่า "กูสมเด็จพระนเรศวร ขอประกาศความเป็นอิสระภาพ ไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป " หงสาวดีนันทบุเรงทรงพิโรธ สั่งให้สุกรรมา นายทัพคู่ใจ ออกไปสกัดทัพไว้ที่แม่น้ำสะโตง สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนยิงสุกรรมาเสี ยชีวิตบนหลังช้าง ทรงพระราชทานนามพระแสงปืนนั้นว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" ในปี พ.ศ. 2133 พระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต หงสาวดีนันทบุเรงถือเป็นโอกาส จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาให้ยกทัพมาตีกรุงศรี แต่ก็ต้องพ่ายแพ้กลับไป จนปี พ.ศ. 2135  

[4972/5][2015-05-29]

เที่ยวสุพรรณบุรี ภายใน สวนเฉลิมภัทรราชินี ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่สมบูรณ์แบบ ในเนื้อที่ 15 ไร่ นอกจากจะเป็นที่ตั้งของหอคอยบรรหาร แจ่มใส แล้ว ยังมีตึกแสดงผลงานของ ฯพณฯ บรรหารสวนน้ำพร้อมสไลเดอร์ สวนลายไทย สวนนกพิราบ สวนดอกไม้ สนามเด็กเล่น บ่อน้ำพุ สนามออกกำลังกาย ฯลฯ

[3864/5][2015-05-29]

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724 ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมานมัสการ “หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุอีกข้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวาย องค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร มีนักปราชญ์หลายท่านว่า หลวงพ่อโตเดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งเหมือนพระพนัญเชิงในสมัยแรกๆ เพราะมักจะพบว่า พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สร้างในสมัยก่อนอยุธยาและอยุธยาตอนต้น ส่วนมากชอบสร้างไว้กลางแจ้งเพื่อให้สามารถมองเห็นได้แต่ไกล ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลายจำนวน 36 องค์ หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ทุกปีจะมีงานเทศกาลสมโภชและนมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ 2 ครั้ง คือ ในวันขึ้น 7-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12 ตรงข้ามวิหารวัดมีร้านขายสินค้าที่ระลึกพื้นเมืองหลายร้านให้แวะเลือกซื้อ ด้านหลังวัดมี “คุ้มขุนช้าง” ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง ตามบทพรรณนาเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นไปบนเรือนจะเห็นฉากภาพวาดตัวละครขุนช้างสำหรับให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปเป็นที่ระลึก บนเรือนแต่ละห้องมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน มีตู้จัดแสดงภาชนะเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆไม่ว่าจะเป็นฉากกั้นหรือถ้วยโถโอชามเก่าแก่แบบต่างๆ

[4413/4][2015-05-29]

หอคอยบรรหาร หอคอยบรรหาร แจ่มใสและสวนเฉลิมภัทรราชินี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรีบนถนนนางพิมตำบลท่าพี่เลี้ยงหอคอยบรรหาร แจ่มใสเป็นหอคอยแห่งแรกและสูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูงถึง123เมตรมีชั้นสำหรับชมวิวในระดับสูงสุด78.75เมตรและระดับต่ำลงมาคือ72.75, 66.75และ33.75เมตรตามลำดับบนหอคอยได้มีการติดตั้งกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้าน มีร้านขายของที่ระลึกและอาหารว่างมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรีทั้งด้านประวัติศาสตร์วรรณคดีศิลปวัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญและเรื่องราวน่ารู้ของจังหวัดสุพรรณบุรีไว้ทั้งหมด

[6756/9][2015-05-29]

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อยู่ถนนสมภารคง แยกจากถนนมาลัยแมนไปประมาณ 300 เมตร เขตตำบลรั้วใหญ่ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ปรางค์องค์ประธานเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ถูกลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมไปมาก กรุในองค์พระปรางค์นี้เป็นต้นกำเนิดพระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน “เบญจภาคี” 5 พระเครื่องยอดนิยม อันได้แก่ พระสมเด็จนางพญาของสมเด็จพระพุทธาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณ พระสมเด็จนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พระทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรและพระรอด จังหวัดลำพูน นักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่า ปรางค์องค์นี้น่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้างสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะจากหลักฐานการก่อสร้างองค์ปรางค์เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา

[3838/9][2015-05-29]

วัดพระลอย วัดพระลอย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลรั้วใหญ่ เลยวัดแคไปไม่ไกล สาเหตุที่สร้างวัดนี้น่าจะมาจากที่มีพระพุทธรูปปางนาคปรกเนื้อหินทรายขาวลอยมาตามแม่น้ำท่าจีน(แม่น้ำสุพรรณ) จึงได้ทำพิธีอาราธนาขึ้นมาจากแม่น้ำ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ที่ปรักหักพังสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทางวัดได้ปฏิสังขรณ์โดยสร้างโบสถ์ใหม่ครอบ และยังมีอุโบสถจตุรมุขใหญ่ สูงเด่น สง่างาม ประดิษฐานพระพุทธนวราชมงคล สวยงามมาก และมีพระพุทธรูปเนื้อหินทรายปางต่างๆ เก่าแก่มาก บริเวณท่าน้ำหน้าวัดเป็นที่สงวนพันธุ์สัตว์น้ำ มีฝูงปลาหลายชนิดผู้มาเที่ยวชมสามารถให้อาหารปลาได้ ถือเป็น อุทยานมัจฉา อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี  

[4420/3][2015-05-29]

วัดแค วัดแค เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อปรากฏในวรรณคดีเรื่อง "ขุนช้างขุนแผน" อยู่ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ไปทางเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุประมาณ 2 กม. ภายในวัดนี้มีต้นมะขามใหญ่วัดโคนต้นโดยรอบได้ประมาณ 10 เมตร เชื่อกันว่าขุนแผนได้เรียนวิชาเสกใบมะขามจากต้น มะขามต้นนี้ ให้เป็นตัวต่อตัวแตนจากท่านอาจารย์คงไว้โจมตีข้าศึก นอกจากนี้ทางจังหวัดได้สร้างเรือน ไทยทรงโบราณเรียกว่า "คุ้มขุนแผน" ไว้ใกล้กับต้นมะขามยักษ์นี้อีกด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสวัดแคเมื่อ พ.ศ. 2447 วัดนี้มีโบราณวัตถุที่น่าสนใจ ได้แก่ พระพุทธบาทสี่รอย ทำด้วยทองเหลืองกว้าง 1.40 เมตร ยาว 2.80 เมตร สร้างซ้อนกันไว้ในรอยใหญ่ นอกจากนี้ก็มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบศิลปรัตนโกสินทร์ จีวรและอังสะเป็นดอกพิกุลงดงามมาก ประดิษฐานอยู่ในวิหารหน้าพระประธาน สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ก็มีเช่น ระฆังทองเหลือง หม้อต้ม กรักทองเหลือง ตู้ใส่หนังสือที่พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายเมื่อปี 2412  

[4309/2][2015-05-29]

วัดหน่อพุทธางกูร วัดหน่อพุทธางกูร (เดิมชื่อ วัดมะขามหน่อ) ในปี พ.ศ.2396 สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เกิดสงครามกับทัพเจ้าอนุวงศ์ กองทัพไทยได้กวาดต้อนชาวลาวจากเวียงจันทร์เข้ามาในแผ่นดินไทย ชาวลาวส่วนหนึ่งมาตั้งหลักแหล่งที่ ต.พิหารแดง และสร้างวัดขึ้น ชื่อวัดมะขามหน่อ โดยเรียกอย่างย่อว่าวัดหน่อ ในบริเวณวัดมีโบสถ์และกุฏิไม้สวยงาม ภายในโบสถ์นอกจากประดิษฐานพระพุทธรูปทองเหลืองปางมารวิชัยแล้ว ยังมีจิตรกรรมฝาผนังซึ่งแม้สภาพจะชำรุดไปกว่าครึ่งหนึ่ง ทั้งจากความชื้นที่ซึมจากพื้นล่างและน้ำฝนที่รั่วจากหลังคา แต่นับเป็นภาพจิตรกรรมที่สวยงามและมีรายละเอียดที่น่าชมอยู่มาก  

[3435/3][2015-05-29]

วัดสนามชัย วัดสนามไชย มีเจดีย์เก่าแก่คู่เมืองสุพรรณ ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ภายในบริเวณวัดมีฐานเจดีย์ทรงสิบหกเหลี่ยมขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด ส่วนยอดหักพังหมดแล้ว เหลือเพียงฐานชั้นล่าง เชื่อกันว่าองค์เจดีย์นี้น่าจะเป็นต้นแบบของศิลปกรรมแบบอู่ทองหรือสุพรรณภูมิในช่วงแรกๆ อันเป็นต้นแบบของเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมในระยะต่อมา ภายในองค์เจดีย์กลวงเป็นห้องสี่เหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2504 2505 กรมศิลปากรทำการขุดแต่งองค์เจดีย์พบอัฐิธาตุป่นปนอยู่กับเถ้าถ่านเป็นจำนวนมาก บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ด้านทิศตะวันออก เชื่อกันว่าเป็นอัฐิของทหารที่เสียชีวิตในการทำสงครามกับพม่าบนแผ่นดินเมืองสุพรรณบุรีครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดร้างไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด มีเพียงความในพงศาวดารเหนือระบุว่า พระเจ้ากาแตโปรดฯ ให้มอญน้อยออกไปสร้างวัดสนามไชยเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จมาเสวยราชย์ ณ เมืองพันธุมบุรี เมื่อ พ.ศ.1706 ความว่า “ ขณะนั้นพระเจ้ากาแตเป็นเชื้อมาแต่นเรศร์หงสาวดี ได้มาเสวยราชสมบัติ แล้วมาบูรณะวัดโปรดสัตว์วัดหนึ่ง วัดภูเขาทองวัดหนึ่ง วัดใหญ่วัดหนึ่ง สามวัดนี้แล้วจึงให้มอญน้อยเป็นเชื้อมาแต่พระองค์ออกไปสร้างวัดสนามชัย แล้วมาบูรณะวัดพระป่าเลไลยก์ในวัดลานมะขวิดแขวงเมืองพันธุมบุรี ข้าราชการบูรณะวัดแล้ว ก็ช่วยกันบวชสิ้นสองพันคน จึงขนานนามเมืองใหม่ชื่อว่าเมืองสองพันบุรี แล้วพระองค์จึงยกนาเป็นส่วนสัดไว้ พระองค์อยู่ในราชสมบัติ 40 ปี จึงสวรรคต จุลศักราช 565 ขาลเบญจศก ” น่าเชื่อว่าในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีเจริญรุ่งเรืองวัดสนามไชยคงเป็นวัดที่สำคัญของเมืองวัดหนึ่ง จนเมื่อกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2310 เมืองสุพรรณบุรีถูกทิ้งร้างไป วัดสนามไชยก็คงถูกทิ้งร้างไปในคราวเดียวกัน อย่างไรก็ตามสำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ทำการขุดตรวจฐานเจดีย์และแนวกำแพงล้อมรอบเจดีย์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2547 2548 ผลการขุดตรวจสันนิษฐานว่าเจดีย์ประธานวัดสนามไชยนี้น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ในบริเวณที่มีชุมชนอยู่อาศัยค่อนข้างหนาแน่นมาแต่เดิมตั้งแต่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีระเบียงคตล้อมรอบเจดีย์ประธาน นอกระเบียงคตทางทิศตะวันตกเป็นอุโบสถ

[3955/2][2015-05-29]