วัดอัมพวัน สิงห์บุรี วัดอัมพวัน เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก สภาพทั่วไปนั้น มีต้นไม้ประมาณ ๓๐๐ ต้น เป็นไม้ดอก – ไม้ใบ ที่ปลูกใหม่ เดิมสภาพพื้นที่จะเป็นที่ที่น้ำท่วมถึง มาบัดนี้ทางวัดได้ทำถนน – คูกั้นน้ำ จึงสามารถป้องกันน้ำไว้ได้ จึงได้มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น หลักฐานการตั้งวัด จากการสำรวจทางราชการประมาณกาลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๗๕ การสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมา มาแล้ว ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ ๓ ครั้งที่ ๒ นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร และได้ผูกพัทธสีมา วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ประวัติความเป็นมาของวัด วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่า คนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวันป้ายวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับฝรั่งชาติฮอลันดา จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวัน สมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ ๙๙ ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระหน้าปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์ จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

[2742/0][2020-09-10]

เจ๊สมศรี เตี้ย ปลาช่อนแดดเดียว

[626/0][2019-12-25]

อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ อยู่ ห่างจากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 ประมาณ 9 กม. จะมีทางแยกเลี้ยวไปบ้านเชิงกลัด เข้าไปอีกประมาณ 1.5 กม. ก็จะถึงอุทยานแม่ลา คำว่า "แม่ลา" เป็นชื่อลำน้ำสายหนึ่งในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน และอำเภอเมืองสิงห์บุรี เป็นลำน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารของปลา ฉะนั้นปลาที่จับได้จากลำแม่ลาจึงมีรสชาติอร่อย อ้วน เนื้อนุ่ม มัน โดยเฉพาะปลาช่อนแม่ลาซึ่งเป็นอาหารและของฝากที่มีชื่อเสียงของจังหวัด สิงห์บุรี ปัจจุบันปลาช่อนแม่ลาหายากขึ้นทุกวัน  

[1440/0][2015-08-04]

10 ที่พัก สิงห์บุรี ราคาถูก 1. สบายดี รีสอร์ท สิงห์บุรี (Sabaidee Resort Singburi) ที่พักราคาประหยัดท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นจากการต้อนรับของพนักงาน ห้องพักตกแต่งด้วยสีสันน่ารัก กว้างขวางอยู่สบาย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องพักและภายในรีสอร์ทอย่างครบครัน ราคา 408-600 บาท 2. โกลเด้นดราก้อน รีสอร์ท (Goldendragon Resort) โรงแรมที่มีการออกแบบอย่างหรูหรา สง่างาม มีมาตราฐาน ห้องพักทุกห้องได้ตกแต่งอย่างสมบูรณ์แบบลงตัว พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน  ราคา 800-1,500 บาท 3. โรงแรมไชยแสง พาเลส (Chaisaeng Palace Hotel) โรงแรมไชยแสง พาเลส ให้บริการห้องพักราคาสบายกระเป๋า พร้อมเครื่องปรับอากาศและสิ่งอำนวยความสะดวกให้อย่างครบครัน  อยู่ใกล้ไชยห้างสรรพสินค้าแสงดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ ราคา 1,100-3,450 บาท   4. กรีนเบย์ ลิตเติ้ล ริเวอร์ (Greenway Little River) ที่พักใจกลางเมืองสิงห์บุรี ราคาถูก ห้องพักกว้างขวาง อยู่สบาย ไม่อึดอัด มีสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพักไม่ว่าจะเป็น เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ตู้เย็น เคเบิ้ลทีวี เครื่องทำน้ำอุ่น กาเฟ น้ำดื่ม สบู่ แชมพู ผ้าเช็ดตัว ราคา 1,500-1,900 บาท

[1242/0][2015-07-14]

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี ประวัติความเป็นมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี จากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่าเคยมีชุมชนโบราณอาศัยอยู่ ตั้งแต่สมัยทวาราวดี เมื่อราวพุทธศตวรรตที่ 12-16 โดยมีการพบโบราณวัตถุหลายชนิดที่แหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน  อำเภออินทร์บุรี เดิมเรียกเมืองอินทร์บุรี เป็นเมืองชายแดนทางเหนือของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตติดต่อกับเมืองชัยนาทหัวเมืองตอนใต้ของอาณาจักรสุโขทัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ตั้งอยู่ในบริเวณวัดโบสถ์ (พระอารามหลวง) ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เริ่มจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 โดยอดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระเทพสุทธิโมลี (ผึ่ง โรจโน) ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี อุทัยธานี (ฝ่ายธรรมยุต) ซึ่งท่านได้รวบรวมศิลปวัตถุโบราณวัตถุจากการบริจาคของประชาชน นำมาจัดแสดงเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดโบสถ์" ต่อมามีโบราณวัตถุจำนวนมากและได้จัดถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงได้ส่งมอบให้แก่กรมศิลปากรรับผิดชอบและขออนุมัติเปลี่ยนชื่อเป็น "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี" ปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี สังกัดสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ประเภทการจัดแสดง จัดแสดงนิทรรศการถาวรในอาคาร 2 หลัง มีจำนวน 4 ห้อง คือ จัดแสดงนิทรรศการถาวรจำนวน 2 ห้อง คือ ชั้นบน จัดแสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องพระพุทธศาสนา ชั้นล่าง จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่น   

[3643/7][2015-05-29]

อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน และอุทยานค่ายบางระจัน อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 3032 มีพื้นที่ประมาณ 115 ไร่ เป็นสวนรุกขชาติพักผ่อนหย่อนใจ จะเห็นอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง 11 คน สร้างโดยกรมศิลปากรปรากฏสวยเด่นเป็นสง่าอยู่ในสวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2519 ค่ายบางระจันมีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ได้บันทึกเหตุการณ์ความกล้าหาญและเสียสละของวีรชนไทยที่เกิดขึ้น เมื่อเดือน 3 ปีระกา พ.ศ. 2308 ในครั้งนั้นชาวบ้านบางระจันได้รวมพลังกันต่อสู้กับกองทัพพม่าซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล โดยพม่าต้องยกทัพเข้าตีหมู่บ้านนี้ถึง 8 ครั้ง ใช้เวลา 5 เดือน จึงเอาชนะได้เมื่อวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 นับเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ค่ายบางระจันในปัจจุบันได้สร้างจำลองโดยอาศัยรูปแบบค่ายในสมัยโบราณ และภายในบริเวณยังมี อาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน จัดห้องนิทรรศการโดยแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ ห้องแรก แสดงเรื่องค่ายบางระจัน เครื่องใช้โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย หนังใหญ่ ห้องที่สอง จัดแสดงมรดกเมืองสิงห์บุรี ห้องที่สาม แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองสิงห์บุรีและของดีเมืองสิงห์บุรี การเดินทาง โดยรถประจำทาง สามารถขึ้นรถที่ บขส. ในอำเภอเมืองสิงห์บุรี สายสุพรรณบุรี สิงห์บุรี มาลงที่อนุสาวรีย์วีรชนฯ  

[8666/9][2015-05-29]

วัดโพธิ์เก้าต้น วัดโพธิ์เก้าต้น ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 15 กม.ณ ที่แห่งนี้วีรชนชาวไทยได้เคยใช้เป็นที่มั่นในการต่อต้านข้าศึกที่มารุกราน ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า"วัดไม้แดง" เพราะภายในบริเวณมีต้นไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งอยู่หลายต้น และชาวบ้านถือกันว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครกล้าตัดหรือทำลาย ในบริเวณวัดมี "วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ" ซึ่งเป็นผู้นำสำคัญผู้หนึ่งของชาวบ้านบางระจัน และใกล้ๆ กันก็มี "สระน้ำพระอาจารย์ธรรมโชติ" มีปลาอยู่ชุกชุมเพราะชาวบ้านถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์จึงไม่จับไปรับประทาน ส่วนหน้าวัดได้มีการจำลองค่ายบางระจันตามประวัติศาสตร์ไว้ด้วย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ยังคงปรากฏต้นไม้แดงที่ยืนต้นมากกว่า 200 ปี  

[3945/0][2015-05-29]

วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในตำบลจักรสีห์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัยที่มีความงดงามมาก มีความยาว 47 เมตร 42 เซนติเมตร (1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว) ลักษณะพระพักตร์ หันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ยังมี พระกาฬ เป็นพระพุทธรูปศิลาลงรักปิดทอง และพระแก้ว พระหล่อนั่งขัดสมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์และมีพระพุทธลักษณะงดงาม ทั้งพระกาฬและพระแก้วสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เป็นพระประทานในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ด้านหน้าวิหารมีต้นสาละลังกาใหญ่ต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนาผลิดอกบานสะพรั่งหลายต้น ประวัติ ตามหลักฐานที่มีอยู่ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ เมื่อปีจอ ฉศก จุลศักราช 1111 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2297 และได้เสด็จไปอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2299 เพื่อสมโภชฉลอง  ต่อมาสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จไปทรงนมัสการ เมื่อปี พ.ศ.2421 ในครั้งนั้น พระวิหารและพระนอนชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากขาดการบูรณปฏิสังขรณ์มานาน พระธรรมไตรโลก (อ้น) วัดสุทัศน์ ได้ทูลขอพระราชทานเงินค่านาสำหรับวัด เพื่อปฏิสังขรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินค่านาของวัดและของเมืองสิงห์ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์ ด้วยเมื่อนึกถึงว่าพระพุทธไสยาสน์ วัดพระนอนจักรสีห์ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ในสมัยที่เครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงยังไม่มีใช้กันเช่นปัจจุบันก็พอจะทำให้เราเห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนไทยในอดีตว่ายิ่งใหญ่เพียงใดได้เป็นอย่างดี  พระองค์ได้มอบถวายให้ และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบำราศปรปักษ์ เป็นที่ปรึกษา  การปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2428  วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาทรงสักการะพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์

[5416/7][2015-05-29]

วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ เป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษา การก่อสร้างโบสถ์ วิหารศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูปมาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์และสามารถเล่นได้กว่า 300 ตัว ซึ่งพระครูสิหมุณี อดีตเจ้าอาวาส ได้รวบรวมตัวหนังใหญ่จากฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเอาไว้ และส่วนหนึ่งได้รับมอบหมายจากครูเปีย หัวหน้าคณะหนังเร่ ผู้ที่มีความสามารถในการเชิด พาทย์หนังใหญ่ และได้ถ่ายทอดการแสดงหนังใหญ่สืบต่อกันมา ตัวหนังใหญ่ที่ใช้แสดงแบ่งเป็นชุดใหญ่ ๆ ได้ 4 ชุด คือ ชุดศึกใหญ่ (ศึกทศกัณฑ์) ชุดศึกมงกุฎ บุตรลบ ชุดนาคบาศ และชุดศึกวิรุณจำบัง มีการสาธิตการแสดงหนังใหญ่ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 309 เส้นสิงห์บุรี อ่างทอง (สายเก่า) กิโลเมตรที่ 94 ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีไปประมาณ 3 กิโลเมตร

[4568/5][2015-05-29]

วัดประโชติการาม วัดประโชติการาม เป็นวัดเก่าแก่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ พุทธลักษณะงดงาม ศิลปะแบบสุโขทัยขนาดใหญ่ 2 องค์ คือ หลวงพ่อทรัพย์ สูง 6 วา 7 นิ้ว และหลวงพ่อสิน สูง 3 วา 3 ศอก 5 นิ้ว ซึ่งมีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนบุคคลทั่วไป  

[4186/2][2015-05-29]

วัดพิกุลทอง วัดพิกุลทอง อยู่ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหารไปประมาณ 9 กม. ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่อแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี) ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับด้วยโมเสดทองคำธรรมชาติชนิด 24 เค รอบๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสวนธรรมะและสิ่งก่อสร้างที่สวยงามน่าสนใจ แวดล้อมด้วยบรรยากาศร่มรื่นสงบ

[5460/5][2015-05-29]

วัดม่วง อินทร์บุรี วัดม่วง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณปี พ.ศ. ๒๓๖๕ เดิมนั้นมีต้นมะม่วงอยู่มากจึงเรียกว่า “วัดม่วง”  ภายในวัด มีวิหารเก่าแก่เป็นอาคารปูนรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้ามีมุขยื่นออกมาที่หน้าบันประดับด้วยภาชนะเครื่องถ้วยต่างๆ ในวิหารมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยพุทธลักษณะงดงาม ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีรูปฐานสิงห์ มีฐานบัวขนาดใหญ่รองรับ เพดานประดับด้วยลายเขียนรูปดาว มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่น ฝีมือช่างพื้นบ้านสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมีเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนแสดงภาพชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมของสังคมโบราณในระดับต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี  

[4722/5][2015-05-29]

วัดโบสถ์ วัดโบสถ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี หรือเป็นพระอารามหลวงวัดแรกในจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพสุทธิโมลี เป็นผู้มีอุปการะคุณต่าง ๆ ต่ออำเภออินทร์บุรี และเป็นวัดที่มีพระภิกษุ สามเณรเป็นจำนวนมาก ภายในวัดยังมีโรงเรียนวัดโบสถ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินทร์บุรี หอสมุดแห่งชาติ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม (โรงเรียนพระภิกษุ สามเณร) เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ ม. 1 6 เป็นสถานศึกษาของสามเณรทั้งทางโลกและทางธรรม ซึ่งในปัจจุบันนี้มีสามเณรที่เรียนประมาณ 90 รูป  วัดโบสถ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลอินทร์บุรีอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อานาเขตทิศเหนือยาว ๑๔๐ เมตร ติดต่อกับหมู่บ้านเอกชน ทิศใต้ยาว ๒๘๕ เมตร ติดต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกยาว ๒๙๐ เมตร ติดกับถนนหลังวัด ลักษณะทั่วไปพื้นที่ เป็นที่ราบรุ่มน้ำท่วมถึง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ความเป็นมา วัดโบสถ์เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมากลายเป็นวัดร้าง จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีพระภิกษุ ๓ รูป คือ พระอาจารย์คง พระอาจารย์แผน และพระอาจารย์ต่าย แห่งวัดประยูรวงศาวาส ได้มาถากถางปลูกเป็นกระท่อมผักอยู่ที่วัดโบสถ์นี้ ต่อมาชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัด มีขุนจ่าเมือง (นิล) และอุบาสกคำ เป็นหัวหน้าช่วยกันสร้างกุฏิและศาลาให้เป็นที่พำนักอาศัย โดยมีพระอาจารย์คง ปกครองวัดอยู่ได้นาน ๔ ปี จึงลาสิขา พระฉ่ำซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์คง จึงไดปกครองวัดต่อมา และขุนจ่าเมืองอินทร์เป็นหัวหน้าบำรุงอุปถัมภ์วัดให้เจริญในด้านการก่อสร้างขึ้นมาระยะหนึ่ง เมื่อพระอาจารย์ฉ่ำมรณภาพ พระอาจารย์เอม ได้ซ่อมแซมเสนาสนะหลายอยาง เช่น กุฏิ ศาลา และอุโบสถ โดยมีพระศักดิ์บุรีนทร์เป็นหัวหน้าในการสร้างพระอุโบสถด้วย วัดโบสถ์เดิมเป็นวัดมหานิกาย ภายหลังเปลี่ยนเป็นวัดธรรมยุต เพราะมีพระสงฆ์วัดโบสถ์ไปเปลี่ยนแปลงเป็นวัดธรรมยุต ที่วัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพฯ และได้ศึกษาพระธรรมวินัย กับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมหมื่นวชิรญาณวโรรส จนโปรดและทรงจัดให้พระครูสังฆบิบาล (อิน) นำคณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร อีก ๒ รูป มาอยู่วัดโบสถ์ คือ พระสมุห์ยิ้ม และพระห่วง พร้อมด้วยพระวัดโบสถ์ที่มาศึกษาอีก ๔ รูป คือ พระลม พระศิษ พระเฟื่อง และพระลา เป็นพระธรรมยุตมาอยู่วัดโบสถ์ เมื่อ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๘ การดำเนินของกรมการศาสนาได้ดำเนินการต่อไป วัดโบสถ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ อนึ่ง เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาท พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ และสมเด็จพระเจ้าฟ้าจุฬาพรวลัยรักษ์ ได้เสด็จมาทรงตัดลูกนิมิตพระอุโบสถ และได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท เพื่อบำรุงวัดนี้ด้วย วัดโบสถ์ก่อนที่จะได้รับยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงนั้น มีเจ้าอาวาส ปกครองมามาตามลำดับ ดังนี้ พระอาจารย์คง ปกครองวัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2416 เป็นเวลา 4 ปี พระฉ่ำ รักษาการเมื่อพระอาจารย์คงลาสิขา พระอาจารย์เอม ปกครองวัดนานถึง 10 และลาสิขาเมื่อปี พ.ศ. 2473 พระครูสังฆบริบาล (อิน) เป็นพระธรรมยุตรูปแรกที่ปกครองวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2438 สร้างความเจริญให้กับจนได้เลื่อนสมณศักดิ์ที่ พระครูสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะใหญ่จังหวัดสิงห์บุรี ทำให้การศึกษาของวัดเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก ปกครองวัดอยู่นาน 9 ปี ก็ถึงแก่มรณภาพที่ภูมิลำเนาเดิมของท่านเมื่อ ปีมะโรง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2447 พระสิงหบุราจารย์ (ลบ ฐิตาโภ) ปกครองวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2447 2497  พระครูธรรมวรานุยุตติ์ (ฟู อาภาคโม) ปกครองวัดตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2497 – 2500  พระราชเมธาภรณ์ (ผึ่ง โรจโน) ปกครองวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2500 – เป็นต้นมา พัฒนาวัดจนรุ่งเรืองทุกด้าน และได้เลื่อนสมณศักดิ์ “พระเทพสุทธิโมลี” มรณภาพเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2525  เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระสุนทรธรรมโสภิต (ประยงค์ ปภาโส) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2526 ปัจจุบัน ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชวินัยเวที และเป็นเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี อุท้ยธานี ชัยนาท (ธรรมยุต)  

[4513/3][2015-05-29]

งานประเพณีสงกรานต์ภาคกลาง ประจำปี 2555 นมัสการปิดทอง พระแก้ว พระกาฬ ที่ศักดิ์สิทธิ์ สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว พร้อมรับพรจากพระภิกษุสงฆ์ และผู้สูงอายุ อายุรวม 9 พันปี ชมอุทยานต้นสาละออกดอกบานสะพรั่ง เล่นน้ำสงกรานต์ บรรยากาศแบบไทย

[995/0][2015-05-29]

กุ้งเผาทองชุบ กุ้งเผาร้านดังประจำจังหวัดสิงห์บุรีครับคุณ ไม่ไกลจากกรุงเทพนัก ถ้าขับรถก็ใช้เวลาประมาณชั่วโมงหน่อยๆ ก็ถึง โดยใช้เส้นทางถนนสายเอเชีย จากอยุธยาไปนครสวรรค์ พอเริ่มเข้าเขตสิงห์บุรีจะเห็นป้ายร้านอาหาร “กุ้งเผาทองชุบ” ขนาดใหญ่โต รับรองว่าไม่มีหลง บรรยากาศภายในร้านร่มรื่นครับ ลมโกรกดีนัก เชียวเพราะอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา เห็นทิวทัศน์ได้ชัดเจนดี ด้านอาหารของที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องกุ้งครับ กุ้งแม่น้ำตัวเบ้อเร่อ หนึ่งกิโลฯ ชั่งได้ประมาณ 3 ตัว…เผาเสร็จ แกะเปลือก ตัวเปลือยๆ ยังโตกว่าช้อนตักข้าวอีก!!! มันกุ้งนี่ก็ไม่สาธยาย เอาเป็นว่าไหลเยิ้มจนซดได้เป็นคำๆ สำหรับผู้รักคอเลสเตอรอลแบบไร้เหตุผลคงถูกใจกันเลยแหละ นอกจากกุ้งเผาแล้วร้านกุ้งเผาทองชุบยังมีอาหารพวกปลาแม่น้ำคอยต้อนรับนักชิม ทั่วสารทิศ รับรองครับว่ารสชาติไม่เป็นรองที่ใดเชียว ภาพจาก bloggang.com

[1730/0][2015-05-29]

แม่ลาปลาเผา ขายอาหารตามสั่ง เน้นจำพวกปลา มีร้านขายของแห้งด้วย ปลาช่อนเผา + สูตรน้ำจิ้ม + ผักต้มสดๆ อร่อยเหลือรับประทาน คุณสภนิช พริ้งพร้อม (ลูกสาว คุณวิเชียร พริ้งพร้อม เจ้าของกิจการ) รับช่วงต่อธุรกิจจากบิดา ทางร้านประกอบธุรกิจมากว่า 30 ปี ด้วยรสชาติคุณภาพ ในราคาที่พอเหมาะ ทางร้านได้รับการการันตี "เชลล์ชวนชิม" ด้วย

[5878/17][2015-05-29]

ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี หลังเก่า ประวัติความเป็นมาสร้างเมื่อ พ.ศ. 2454 (ร.ศ. 130) เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 ได้มีการย้ายตัวเมืองจากบริเวณลำน้ำน้อย ตำบลโพสังโฆ อำเภอค่ายบางระจัน มาตั้งใหม่ที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางมอญ (ปัจจุบันคือตำบลต้นโพธิ์) และในปี พ.ศ. 2454 จึงได้ย้ายมาตั้งอยู่ในเขตตำบลบางพุทรา  

[2392/0][2015-05-29]

ไชยแสง ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์

[1527/0][2015-05-29]

ผัดไทปากปาง

[1146/0][2015-05-29]

วัดหน้าพระธาตุ สิงห์บุรี วัดหน้าพระธาตุ อยู่ในเขตหมู่บ้านพลับ ต.จักรสีห์ ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์ไปทางตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่าวัดหัวเมือง สันนิษฐานว่าสถานที่บริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์เก่า สิ่งที่สำคัญของวัดนี้คือ มีพระปรางค์ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น สูงประมาณ 8 วา ฐานก่อด้วยศิลาแลง ก่อด้วยอิฐย่อมุมทรงปรางค์ มีกลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ ภายหลังมีการเสริมแต่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น ทิศตะวันออกขององค์ปรางค์มีพระวิหารหลวง ทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ มีเจดีย์กลมเรียงรายหลายองค์ เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478  

[16547/0][2015-05-29]