วัดช้างหมอบ วัดมงคลคชารามหรืออีกชื่อคือ วัดช้างหมอบสถานที่ที่สำคัญอีกแห่งหนึงในจังหวัดสุริทร์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมมะและสถานที่ที่มีความสวยงาม รักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภูเขาหรือป่าไม้ทำให้ยังคงความร่วมรื่นเหมาะกับเป็นสถานที่ใ้ห้พุทธศาสนิกชนมานั่งปฎิบัติธรรม และเป็นวัดหลวงพ่อพวนเกจิชื่อดังของเมืองสุริทร์ที่อดีตเคยจำพรรษาอยู่ที่นี่  

[14/0][2020-01-04]

วัดบูรพาราม เมืองสุรินทร์ วัดบูรพาราม (เดิมเรียกว่าวัดบูรณ์) ตั้งอยู่ใจกลางของจังหวัดสุรินทร์ หน้าศาลากลางจังหวัด หลังศาลจังหวัดสุรินทร์  สร้างขึ้นเมื่อใด และท่านผู้ได้ริเริ่มสร้างขึ้นนั้น ไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่ชัด เพียงแต่สันนิษฐานโดยอนุมานเอาคงจะอยู่ในระยะใกล้เคียงกับการสร้างเมืองสุรินทร์ คือ ก่อนพุทธศักราช ๒๔๐๐ รวมกับวัดต่าง ๆ ประมาณ ๖ - ๗ วัดด้วยกัน แม้จำนวนชื่อและลำดับเจ้าอาวาสที่ผ่านมา ก็ไม่อาจลำดับได้ถูกต้องตามจำนวนและลำดับได้เช่นเดียวกัน ฯ

[690/0][2019-09-13]

10 ที่พัก สุรินทร์ ราคาถูก 1. รีสอร์ท ราชาวดี สังขะ (Rachawadee Resort Sangkha) รีสอร์ทที่ตกแต่งด้วยสีสันสดใส ดูแปลกตา บริการห้องพักราคาถูกพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพัก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ตู้เย็น เคเบิ้ลทีวี เครื่องทำน้ำอุ่น กาเฟ น้ำดื่ม สบู่ แชมพู ผ้าเช็ดตัว ราคา 466-815 บาท   2. โรงแรมมณีโรจน์ (Maneerote Hotel) โรงแรมราคาประหยัดในเมืองสุรินทร์ ให้บริการห้องพักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพัก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ตู้เย็น เคเบิ้ลทีวี เครื่องทำน้ำอุ่น กาเฟ น้ำดื่ม สบู่ แชมพู ผ้าเช็ดตัว ราคา 500-600 บาท    3. ต้นคูณรีสอร์ท (Thonkoon Resort) รีสอร์ทมีห้องพักทั้งแบบเตียงเดี่ยว เตียงคู่ ห้อง VIP และห้องสูท รวมไปถึงแบบบ้านเดี่ยว เหมาะสำหรับรับรองลูกค้าที่มาเป็นหมู่คณะหรือครอบครัว ทั้งหมดเพื่อให้เหมาะสมและรองรับความต้องการของลูกค้าทุกท่านท่านได้พักผ่อนอย่างอบอุ่นและสบายเต็มที่  ราคา 600-1,400 บาท   4. พีเค รีสอร์ท สุรินทร์ (PK Resort Surin) รีสอร์ทที่ตั้งอยู่ในอำเภอปราสาท บริการห้องพักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้อง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ ตู้เย็น มีระเบียงที่สามารถชมวิวภายในรีสอร์ทได้ ราคา 524-990 บาท   5. โรงแรม มณีสังขะ (Maneesangka Hotel) โรงแรมที่มีชื่อในเมืองสุรินทร์ ให้บริการห้องพักที่สะอาด สะดวก สบาย และมีห้องประชุมสัมนาที่เพรียบพร้อมไปด้วยแสง สี เสียง สำหรับความบันเทิงอย่างเต็มรูปแบบ  ราคา 550-1,250 บาท   6. นงลักษณ์ กุ้งเผา รีสอร์ท (NongLuk Kungphao and Resort) รีสอร์ทในเมืองสังขะ บริการห้องพักในราคาสบายกระเป๋า มีการตกแต่งอย่างทันสมัย พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน และอยู่ไม่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ ราคา 700 บาท   7. โรงแรม ดิออร์คิดเรสซิเดนซ์ (The Orchid Residence Surin) โรงแรมที่ให้บริการห้องพักสบายๆสไตล์คอนโด ท่ามกลางบรรยากาศอันอบอุ่น ที่จอดรถสะดวก นอกจากนั้นแล้วยังเหมาะสำหรับท่านที่ต้องการพักผ่อนในช่วงวันหยุดเทศกาล หรือแวะมาเที่ยวในเมืองสุรินทร์ ราคา 850-950 บาท   8. โรงแรมมาติน่า (Martina Hotel) โรงแรมมาติน่าตกแต่งด้วยห้องพักหรูหราหลากสไตล์ ในราคากันเอง พร้อมบริการอันอบอุ่น ห้องพักสะอาดถูกใจ ที่จอดรถส่วนตัวสะดวก ปลอดภัย บรรยากาศภายในเน้นความเป็นธรรมชาติ ราคา 850-1,400     9. ทองธารินทร์ (Thong Tarin) โรงแรมชั้นหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ บริการห้องพักมากถึง 233 ห้อง พร้อมสิ่งอำนวยครบครัน ภายในโรงแรมมีสระว่ายน้ำ ห้องอาหาร ห้องประชุมสัมนา อินเตอร์เน็ต นวดไทย สปาสะดวกสบายต่อการเดินทาง  ราคา 1,200-4,440 บาท   10. สมรวิลล่า สุรินทร์ (Samorn Villa) บ้านพักตากอากาศเล็กๆที่ถูกกสร้างขึ้นเพื่อความสะดวกสบายสำหรับวันพักผ่อน ให้ผู้พักมีความสนุกเพลิดเพลินอย่างเต็มที่ รีสอร์ทตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสุรินทร์ใกล้กับชายแดนที่ติดกับประเทศกัมพูชา ราคา 3,600-4,800 บาท  

[1514/0][2015-07-14]

ด่านช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ มีพรมแดนติดกับจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ความยาวตลอดแนวชายแดน ประมาณ 110 กิโลเมตร มีจุดผ่านแดนถาวร 1 จุด คือ จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม –โอเสม็ด (Chong Chom border/O'Smach)  อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ได้รับการยกฐานะจุดผ่อนปรนการค้าเป็นจุดผ่านแดนถาวรช่องจอมโอเสม็ด  เป็นด่านไม่ใหญ่ ตรงด่านมีคาสิโน+โรงแรม สองแห่ง เนื่องจากเป็นด่านเล็กทำให้ต่อรถไปเมืองสำโรงหรือไปเสียมเรียบได้ยาก ต้องต่อเป็นแชร์แทคซี่ไปซึ่งต้องต่อรองราคากัน ผมว่าราคาที่เหมาะสมน่าจะประมาณ 1,500 บาท และควรเลือกแทกซี่คันที่ใช้แก๊สท่านจะได้ราคาที่ถูกกว่าที่อื่น  

[5095/0][2015-05-29]

มหกรรมไหมไทยจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสว่าง (อบต.ท่าสว่าง) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์(พช.สุรินทร์) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดจัดงาน “มหกรรมไหมสุรินทร์ สุดยอดไหมโลก” ขึ้น ในวันที่ 13 17 สิงหาคม 2553 ณ หมู่บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาไหมสุรินทร์ให้เป็นที่รู้จักแก่สายตานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และเพิ่มช่องการทางการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสุรินทร์ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมสุรินทร์ด้วย นางสาวบุณยานุช วรรณยิ่ง ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานสุรินทร์ กล่าวว่า ผ้าไหมทอของจังหวัดสุรินทร์ มีประวัติ ความเป็นมาอันยาวนานและยังคงรักษารูปแบบลวดลายสีสัน ที่แปลกตา ความประณีตและเทคนิคการทอแบบโบราณไว้ได้จนถึง ทุกวันนี้ แม้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้างตามกระแสความต้องการของตลาด ที่กำหนดให้ผลิตสินค้ามาตรฐานเหมือนๆ กัน เป็นจำนวนมากก็ตาม ชาวสุรินทร์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่ชาวไทยเชื้อสายเขมร ยังคงผลิตผ้าไหมที่มีเทคนิคเฉพาะตัว ซึ่งบรรพบุรุษได้สืบทอดหลักการและกรรมวิธีการผลิต เช่น การเลี้ยงไหม การมัดหมี่ การย้อมสี และการทอ ทั้งยังมีการคิดค้นพัฒนากรรมวิธีการผลิต เพื่อให้ได้ผ้าไหมที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง เป็นผ้าไหมที่ร้างชื่อเสียงให้จังหวัดสุรินทร์ โดยการประดิษฐ์คิดค้นของอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินธรรม รู้จักกันโดยทั่วไปเมื่อครั้งปี พ.ศ.2546 คราวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นของที่ระลึกแก่ผู้นำประเทศต่างๆในวาระที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย หรือ APEC ผ้าไหมยกทองโบราณแต่ละผืนต้องใช้เวลาในการออกแบบลวดลาย เขียนแบบเก็บตะกอ นานร่วม 2 3 เดือน จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการทอผ้าที่ประณีต ต้องใช้ช่างทอประจำกี่ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป ซึ่งลายที่เคยทอมากที่สุดต้องใช้ตะกอถึง 1,416 ตะกอ ใช้คนทอกว่า 10 คน และทอได้เพียงวันละ 5 7 เซนติเมตรเท่านั้น วิธีทอจะใช้เส้นไหมที่ย้อมสีจากธรรมชาติ เช่น สีแดงได้จากครั่ง สีเหลืองได้จากเข หรือประโฮด สีน้ำเงิน ได้จากคราม แล้วนำมายกเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามจินตนาการ ก่อนสอดขั้นด้วยดิ้นทองของอินเดีย ในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลานานร่วม 2 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ

[5172/10][2015-05-29]

วนอุทยานพนมสวาย วนอุทยานพนมสวาย เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดก่ออิฐถือปูนขึ้นถึงวัด มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคลปางประทานพร ภปร. ยอดที่ 2 มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานไว้ ยอดที่ 3 มีชื่อว่าเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ได้จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2524 และสำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2525  ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นวนอุทยานแล้วบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเป็นสถานที่แสวงบุญ โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล

[4762/5][2015-05-29]

ปราสาทเมืองที ปราสาทเมืองที ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 16 กม. ตามเส้นทางสุรินทร์ ศรีขรภูมิ เส้นทางหลวงหมายเลข 226 เลี้ยวขวาเข้าไปในซอยประมาณ 0.5 กม. ปราสาทเมืองทีมีลักษณะเป็นปรางค์ รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมก่อด้วยอิฐถือปูน 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 องค์ ส่วนยอดทำเป็นแบบตัวเรือนธาตุซ้อนกัน 3 ชั้น ส่วนบนหัก ที่เหลืออีก 2 องค์มีขนาดและลักษณะคล้ายคลึงกัน จากแผนผังและลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์ปรางค์ที่มีลักษณะผอมเรียว ปราสาทเมืองทีจัดเป็นโบราณสถานศิลปะลาว ที่มีการสร้างขึ้นโดยคนในชุมชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 23-24

[3846/4][2015-05-29]

ปราสาทบ้านไพล ปราสาทบ้านไพล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทสมัยศิลปะบาปวน รูปร่างปราสาทเป็นอิฐ สามหลัง ลักษณะคล้ายรูปทรงสี่เหลี่ยม ปัจจุบันปราสาทบ้านไพลเหลืออยู่เพียงสองหลัง คือ หลังกลางและหลังทางด้านทิศเหนือ ส่วนหลังทางด้านทิศใต้หักพังลงเหลือเพียงกรอบประตูทางเข้าและผนังเรือนธาตุบางส่วน

[4643/3][2015-05-29]

ปราสาทบ้านพลวง ปราสาทหินบ้านพลวง อยู่ที่บ้านพวง จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็กจำนวน 1 หลัง สร้างขึ้นจากหินทรายสีขาวบนฐานศิลาแลง มีลักษณะของศิลปะร่วมแบบบาปวน และแบบนครวัด ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ สถาปนาราชวงศ์มหิธรปุระ ปราสาทมีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว อีกทางด้านเป็นประตูหลอก ทับหลังด้านตะวันออกและด้านใต้สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ทับหลังด้านทิศเหนือสลักเป็นภาพพระศิวะปราบนาคกาลิยะ ส่วนทับหลังด้านตะวันตกยังไม่ได้สลักภาพใดๆ ปราสาทบ้านพลวงเป็นปราสาทที่ยังสร้างไม่เสร็จ สังเกตได้จากภาพแกะสลักยังไม่เสร็จ โดยภาพส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของเทพปกรณัมในลัทธิไศวะนิกาย แต่มีการสลักภาพสัตว์ เช่น สลักภาพกระรอกกระแต และกวางป่าไว้เหนือใบระกาด้านต่อดอกพันธุ์พฤกษา ซึ่งไม่ปรากฏในปราสาทแห่งใด

[4616/5][2015-05-29]

ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทศีขรภูมิ ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง มีลักษณะเป็นปรางค์หมู่ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ฐานก่อด้วยศิลาแลง ปรางค์องค์กลางสูงประมาณ 32 เมตร มีลวดลายสลักหินตามเสาประตูและทับหลังที่งดงาม สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 17 ได้เคยรับการบูรณะมาแล้วครั้งหนึ่งจากกรมศิลปากร  ปราสาทศีขรภูมิ หรือเรียกอีกชื่อว่า ปราสาทระแงง ด้วยเหตุที่ตั้งอยุ่ในตำบลระแงง ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระธิดาทั้ง 3 (มี หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นต้น)ได้เดินทางมาเยือนเมื่อ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2472 (นับอย่างใหม่ต้องปี พ.ศ. 2473) และได้ถูกรวมเข้ากันกับอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ ประวัติ จากลักษณะทางศิลปกรรม สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย และในพุทธศตวรรษที่ 22 มีการบูรณะเพิ่มเติมที่องค์ปราสาทแถวหลังฝั่งทิศใต้ เป็นแบบศิลปะล้านช้าง และยังมีจารึกอักษรธรรมปรากฏอยู่ ณ ปราสาทหลังนี้ ปี พ.ศ.2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงนำ พระอาจารย์ของนักเรียนนายร้อย จปร. ได้มาศึกษาที่โบราณสถานแห่งนี้ และก็ได้มีการบูรณะปราสาทศีขรภูมิ ให้ดูงามเด่นเป็นสง่าน่าภาคภูมิใจแก่แขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนเมืองปราสาทหินโบราณแห่งนี้

[4025/5][2015-05-29]

ปราสาทช่างปี่ ปราสาทช่างปี่ เป็นอโรคยศาล หรืออโรคยศาลา หรือโรงพยาบาล หนึ่งในจำนวน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยนผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง และหินทราย ปัจจุบันได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2554 พบศิลปะวัตถุหลายชื่อ ไม่ว่าเป็นเทวรูปประธาน พระคเนศวร์ กลีบขนุนที่ยอมปราสาท ซึ่งมีความสมบูรณ์หลายชิ้น ซึ่งไม่น่าจะพบในโบราณสถานปัจจุบัน วัตถุโบราณบางส่วนได้ถูกนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ เช่น เศียรเทวรูปประธาน บางส่วนจัดแสดงชั่วคราวที่ศาลาวัดบ้านช่างปี่

[4158/3][2015-05-29]

ปราสาทภูมิโปน ปราสาทภูมิโปน สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นปรางค์รูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ ฐานก่อด้วย ศิลาแลง ย่อมุมไม้สิบสอง กว้าง 5.70 เมตร มีประตูเสาและทับหลัง ห่างจากฐานปรางค์มาทางตะวันตก มีฐานวิหาร 1 หลัง และห่างออกไปทางตะวันตกถึง 32 เมตร มีวิหารอีกหลังหนึ่ง ปราสาทภูมิโปนเป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดสุรินทร์ และเก่าแก่กว่าหลายๆ แห่งของภาคอีสาน

[4203/1][2015-05-29]

ปราสาทจอมพระ ปราสาทจอมพระ ตั้งอยู่ที่ตำบลจอมพระ ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 26 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 214 (สายสุรินทร์ จอมพระ) แล้วจะมีทางแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 1 กม. ปราสาทจอมพระนี้ เป็นปราสาทหินเล็กๆ ก่อด้วยศิลาแลง ซึ่งประกอบด้วยปรางค์วิหาร และกำแพงตั้งอยู่ในบริเวณ วัดปราสาทจอมพระ ปัจจุบันมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ได้ประดิษฐานสร้างขึ้นใหม่อยู่หน้าปราสาท จอมพระ ปราสาทจอมพระ เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะที่เรียกว่า “อโรคยาศาล” มีโครงสร้างที่ยังสมบูรณ์อยู่มาก อาคารต่างๆ ก่อด้วยศิลาแลงและใช้หินทรายประกอบ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก

[3593/0][2015-05-29]

งานสืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ การแสดงแสง เสียง ชุด "ศรัทธาบารมี ตรีโลกนาถ" การแสดงแบบผ้าไหม ชุด "จากเส้นใยสู่ผืนผ้าจากภูมิปัญญาสู่อาภรณ์" ขบวนแห่ศิลปะวัฒนธรรมพื้นเมืองนิทรรศการการแสดงวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชนชาวเขมร กูย ลาว จีน การแสดงดนตรีไทย การแสดงของนักเรียน นักศึกษา ในเขตพื้นที่ตำบลระแงง

[2607/14][2015-05-29]

เยี่ยมเยือนตาเมือน เดือนเมษา ชมปราสาท 3 หลัง 3 แบบ นางสาวบุณยานุช วรรณยิ่ง ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์กล่าวว่า “กลุ่มปราสาทตาเมือน” ตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ติดกับชายแดนไทย – กัมพูชา บนพื้นที่บ้านหนอง คันนาสามัคคี ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์กลุ่มปราสาทนี้เป็นโบราณสถานแบบขอมโบราณ สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีด้วยกัน ๓ หลังที่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ กัน คือ ปราสาทตาเมือน (บายกรีม) เชื่อว่าเป็นธรรมศาลา หรือที่พักสำหรับคนเดินทาง ปราสาทตาเมือนตู๊จ เชื่อว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยาศาล รักษาพยาบาลของชุมชน หรือตามรายทางที่เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งนิยมสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และปราสาทตาเมือนธม ที่อยู่ใกล้เขตชายแดนไทย – กัมพูชา มากที่สุด ปราสาทแห่งนี้ประกอบด้วยปรางค์ประธานที่สร้างจากหินทราย มีแผนผังแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หันหน้าไปทางทิศใต้ (ปราสาทหินแห่งอื่น ๆ มักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก) เพื่อรับกับเส้นทางจากเมืองพระนคร ที่เป็นที่ตั้งของปราสาทนครวัด นครธมของประเทศกัมพูชา เป็นเส้นทางอารยธรรมขอมโบราณระหว่างเมืองพระนครกับปราสาทพนมรุ้งและปราสาทพิมาย จังหวัดสุรินทร์ โดยอำเภอพนมดงรัก ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง จึงได้จัดงานเทศกาล “เยี่ยมเยือนตาเมือน เดือนเมษา” ประจำปี ๒๕๕๔ ในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ ณ กลุ่มปราสาทตาเมือน และบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง กิจกรรมในงาน ที่น่าสนใจ ได้แก่ การแข่งวิ่งมินิมาราธอน (จากที่ว่าการ อบต. ตาเมียง สู่ปราสาทตาเมือน ระยะทาง ๑๓ กิโลเมตร) พิธีรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและการแสดงศิลปะพื้นเมืองสุรินทร์ การประกวดหญิงงาม “ธิดาต าเมือน” การประกวดวาดภาพปราสาทตาเมือน การประกวดแต่งกายพื้นบ้าน การแข่งขันชกมวยไทย – กัมพูชา การจำหน่ายอาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพราคาถูก ข้อมูลและรูปภาพจาก tatnewsthai.org

[1507/1][2015-05-29]

ประเพณีบวชนาคช้าง กิจกรรม พิธีโกนผมนาค / พิธีสู่ขวัญนาค / เรียกขวัญนาค ชมขบวนแห่ช้างนับร้อยเชือกไปที่วังทะลุ บริเวณลำน้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูล พิธีเซ่นไหว้และขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ศาลปู่ตา และพิธีบรรพชาอุปสมบทหมู่

[1248/0][2015-05-29]

งานช้างและงานกาชาดสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณอีกทั้งชาวกวยหรือกูย ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองในอดีตได้จับช้างป่ามาฝึก เพื่อใช้งานในด้านต่างๆเช่น การพาหนะ การขนส่ง รวมถึง ช้างยังมีบทบาทในการประกอบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวกวย ชาวกวยแต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้นระหว่างคนกับช้าง ชาวกวยจึงเลี้ยงช้างในฐานะที่เป็นสัตว์เลี้ยงเสียมากกว่าจะเป็นสัตว์ที่ไว้ใช้งาน การฝึกช้างของชาวกวยจึงเป็นการฝึกช้างให้เชื่องและปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าของ ด้วยความเฉลียวฉลาด และความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ของช้างนี้เอง กลุ่มผู้นำในหมู่บ้านได้เล็งเห็น และรวมตัวกันเพื่อแสดงให้คนภายนอกเห็นถึงความผูกพันของคนกับช้างที่สามารถอยู่ร่วมกันและสื่อสารกันได้พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันแสนพิเศษของช้างไทย การแสดงช้างครั้งแรก จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จากความน่ารัก ความแสนรู้ของช้างสุรินทร์ ในครั้งนั้น ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่สร้างชื่อเสียงและความประทับใจให้แก่ผู้ชมทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติทั่วโลก กิจกรรมเด่น วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา 14.00 น. ขบวนแห่รถอาหารช้าง เริ่มจากบริเวณหน้าโรงเรียนสิรินธร เวลา 18.00 น. การประกวดขบวนรถอาหารช้าง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เวลา 19.00 น. การประกวดสาวงามเมืองช้าง เวทีกลางกาชาดสุรินทร์ สนามกีฬาศรีณรงค์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2554 เวลา 08.00 น. ขบวนพาเหรดและแห่ช้างกว่า 300 เชือก เริ่มขบวนจากหน้าสถานีรถไฟจังหวัดสุรินทร์ เวลา 09.00 น. งานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์ วันที่ 18 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา 19.00 น. งานแสดงแสง สี เสียง ตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ ณ บริเวณปราสาทศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ วันที่ 19 20 พฤศจิกายน 2554 เวลา 09.00 น. การแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ณ สนามแสดงช้าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2554 เวลา 05.00 น. งานวิ่ง “เมืองช้าง” มินิ ฮาร์ฟมาราธอน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์

[6226/30][2015-05-29]

ประเพณีบวชนาคช้างเฉลิมพระกียรติ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ / ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ ( ณ วัดแจ้งสว่าง) เวลา ๐๘.๓๐ น. ผู้ว่าราชการขังหวัดสุรินทร์ และแขกผู้มีเกียรติพร้อมกัน ณ วัดแจ้งสว่าง พิธีโกนผมนาค ณ วัดแจ้งสว่าง เวลา ๑๔.๐๐ น พิธีสู่ขวัญนาค ณ วัดแจ้งสว่าง กลางคืนชมมหรสพสมโภช ณ วัดแจ้งสว่าง วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ / ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. นาคและญาติพร้อมกัน ณ วัดแจ้งสว่าง / ถวายภัตตาหารเพล เวลา ๑๒.๐๐ น. ขบวนแห่นาคและผู้ร่วมงานเตรียมพร้อม ณ วัดแจ้งสว่าง เวลา ๑๓.๐๐ น. เริ่มเคลื่อนขบวนแห่นาคด้วยช้างจากวัดแจ้งสว่าง – ไปยังดอนบวช (วังทะลุ) เวลา ๑๔.๐๐ น. ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ หรือผู้แทน ประธานในพิธีเดินทางมาถึงบริเวณงาน(วังทะลุ) การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ๑ รายการ นายอำเภอท่าตูมกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน ประธานคณะกรรมการจัดงาน (นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์) กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ หรือผู้แทน กล่าวเปิดงาน / กดปุ่มจุดบั้งไฟเพื่อเปิดงานอย่างเป็นทางการ เสร็จพิธี กลางคืนชมมหรสพสมโภช ณ วัดแจ้งสว่าง วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ / ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. พิธีอุปสมบท ณ วัดแจ้งสว่าง กลางคืนชมมหรสพสมโภช ณ วัดแจ้งสว่าง ข้อมูลและรูปภาพจากtatnewsthai.org

[1250/0][2015-05-29]

มหกรรมแห่เทียนพรรษา ๘๔ ไอยราเทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดจัดงาน “มหกรรมแห่เทียนพรรษา ๘๔ ไอยราเทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน” และตักบาตรบนหลังช้างหนึ่งเดียวในโลก ขึ้นในวันที่ ๑๓ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ และอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ และส่งเสริมพระพุทธศาสนา รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ นางสาวบุณยานุช วรรณยิ่ง ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานสุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์เป็นดินแดนที่มีความรุ่งเรืองทางอารยธรรมมานาน โดยมีชาวไทยที่มีเชื้อสายเขมร ลาว กูย(กวย) และจีน อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขภายใต้พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ประกอบกับช้างมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตคนไทยมาช้านาน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น งานแห่เทียนพรรษา งานบวชนาค โกนจุก เป็นต้น ในอดีตช้างมีบทบาทสำคัญมากในการออกศึกสงคราม ช้างจึงได้รับการยกย่องในฐานะผู้ที่สร้างบ้านเมือง และถือเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์องค์ใดมีช้างเผือกมาก ถือว่ามีบุญบารมีมาก บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข เนื่องในวันเข้าพรรษาที่เวียนมาบรรจบ จังหวัดสุรินทร์ตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่มีต่อปวงชนชาวไทยทุกพระองค์และเห็นถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะงานประเพณีเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทย จึงได้กำหนดจัดงาน “มหกรรม แห่เทียนพรรษา ๘๔ ไอยรา เทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน”และตักบาตรบนหลังช้างขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ข้อมูลและรูปภาพจาก tatnewsthai.org

[1356/0][2015-05-29]

แซนโฎนตา วันสารทเขมรของชาวอีสานใต้ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ กำหนดจัดงานประเพณี “แซนโฎนตา” หรือสารทเขมรขึ้น ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๔ เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ นางสาวบุณยานุช วรรณยิ่ง ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์ กล่าวว่า จ.สุรินทร์ และ จ.ศรีสะเกษ มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งใช้ชีวิตอาศัย อยู่ร่วมกับกลุ่มชนกลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลาว กวย(กูย) หรือ เยอ มาแต่ครั้งอดีตจวบจนปัจจุบัน ชาวไทย เชื้อสายเขมรจะมีวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีอันแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน การแสดงความรักและการแสดงความเคารพกับผู้ที่มีอายุมากกว่าตน โดยปลูกฝังและปฏิบัติสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาช้านาน จนเกิดเป็น “ประเพณีแซนโฎนตา” หรือพิธีที่ลูกหลานหรือญาติมิตรมารวมตัวกันพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ หรือผู้ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนการแสดง ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณที่ยังมีชีวิตอยู่ ประเพณีนี้จึงนับเป็นกุศโลบายหนึ่งของคนโบราณที่ต้องการให้ลูกหลานหรือญาติมิตร ที่เดินทางออกไปทำงานยังต่างถิ่นได้กลับมาพบปะและทำความรู้จักกันซักครั้ง ใน ๑ ปี เพื่อสร้างความสามัคคี ความสัมพันธ์อันดีให้เกิดในชุมชน และจะได้เป็น ที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในยาม ตกทุกข์ได้ยาก จังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดงาน “งัยเบ็ญธม แซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ” ขึ้นในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ชมขบวนแห่เครื่องเซ่นไหว้และการแสดงรำพื้นเมืองกว่า ๓๐ ขบวน ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่องจูนโฎนตา (เป็นการนำอาหารคาว หวาน ของสด ผลไม้ ไปไหว้ แก่ผู้อาวุโสในครอบครัว) เครื่องแซนโฎนตา (เป็นการเตรียมสำรับอาหารคาว หวาน ขนม ข้าวต้ม กระยาสารทฯลฯ ซึ่งถือเป็นการเตรียมของสำหรับเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว) โดยนำมาจัดในรูปขบวนแห่อย่างสวยงาม ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ และจะเคลื่อนขบวนไปประกอบพิธีกรรม ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์ นอกจากนี้ในช่วงเย็นยังมีนิทรรศการและสาธิตการแซนโฎนตา ภาพยนตร์ การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เจรียง ลิเก กันตรึมหนังพากษ์ รำบวงสรวง(อัปสรา) รำตำรัยซอ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้มาตรฐานระดับ ๕ ดาวของ จ.สุรินทร์ ณ ลานเชียงปุม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ กำหนดจัดงาน “รำลึกพระยาไกรภักดี ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี” ประจำปี ๒๕๕๔ ในวันที่ ๒๒–๒๓ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๖.๐๐ น. ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ พิธีการบูชาศาลหลักเมืองอำเภอขุขันธ์ พิธีไหว้ศาลพระภูมิ พิธีบวงสรวงพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) พิธีอัญเชิญดวงวิญญาณบรรพบุรุษของชาวอำเภอขุขันธ์ โดยจะเน้น ที่เครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประกอบด้วยอาหารคาวหวาน และผลไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีกล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้สำคัญและต้องนำมาใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้จำนวนมาก จึงได้มีการประกวดเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ชมการประกวดกล้วยงามเมืองขุขันธ์ การประกวดข้าวต้มมัด การประกวดขบวนแห่ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง การจำหน่ายกล้วยน้ำว้าคุณภาพ รวมถึงกล้วยพันธุ์ต่าง ๆ จากทุกอำเภอใน จ.ศรีสะเกษ และการจำหน่ายสินค้า (OTOP) สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ข้อมูลและรูปภาพจาก tatnewsthai.org

[1993/1][2015-05-29]