เลาะดอนนอนนา เลาะดอนนอนนา (Lohdon Nonna) ตั้งอยู่ที่ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นร้านอาหาร ร้านคาเฟ่ และยังเป็นที่พักอีกด้วย บรรยากาศสไตล์ทุ่งนา อยู่ท่ามกลางทุ่งนา และบึงน้ำ อากาศโปร่งโล่ง จัดตกแต่งสวยงาม บรรยากาศดี ใกล้ชิดธรรมชาติ เหมาะแก่การมาพักผ่อน พื้นที่ภายในกว้างขวาง มีสะพานไม้และซุ้มนั่งให้ได้นั่งพักผ่อนหรือถ่ายรูปก็เพลิดเพลิน อาหารอร่อย ราคาเหมาะสม พนักงานบริการดี

[473/0][2022-06-22]

ไร่นาตาลี ทุ่งทานตะวัน ไร่นาตาลี ทุ่งทานตะวัน ตั้งอยู่ใน ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง มหาสารคาม เป็นสวนดอกไม้ทานตะวันที่บานสะพรั่ง จะเปิดบริการให้บางช่วงเมื่อถึงฤดูกาลเท่านั้น หากใครสนใจอยากได้สถานที่โรแมนติกสวยๆ ถ่ายรูปเก๋ๆ กับแฟนละก็ต้องที่นี่เลย

[530/0][2020-04-28]

สะพานไม้แกดำ สะพานไม้แกดำ ตั้งอยู่ที่วัดดาวดึง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นสะพานไม้เก่า อายุราวเกือบ 100 ปี ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ โดยเชื่อมระหว่างบ้านหัวขัวกับหมู่บ้านแกดำ และหมู่บ้านหัวขัว แต่ก่อนสะพานไม้นี่ทรุดโทรมาก ชาวอำเภอแกดำพร้อมด้วยกำลังทหาร ช่วยกันซ่อมแซมสะพานไม้ โดยหวังให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา รวมถึงพัฒนาสะพานไม้เก่าแก่แห่งนี้ ให้เป็นสถานที่ถ่ายภาพและเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม หนองน้ำแกดำ ยังคงได้ใช้ประโยชน์หลายอย่างในหมู่บ้าน เป็น อ่างเก็บน้ำ ใช้อุปโภค บริโภค งานบุญประเพณี ลอยกระทง บุญบั้งไฟ ฯลฯ

[1265/0][2020-04-28]

วัดป่าหนองชาด วัดป่าหนองชาด เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของทางอำเภอเชียงยืน ตั้งอยู่ใน ตำบลดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม วิหารคตหมื่นสมเด็จ และ บ้านหนองแวง

[585/0][2020-04-28]

ที่พัก มหาสารคาม ราคาถูก 1. สวนกล้วย กรีนวิว รีสอร์ท (Banana Green View Resort) บ้านพักตากอากาศราคาสบายกระเป๋า ภายในห้องพักจะมีเตียงนอนขนาดใหญ่ พร้อมด้วยเครื่องปรับอากาศ ห้องน้ำในตัว มีบริการสปา สระว่ายน้ำ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ราคา 550 บาท 2. โรงแรมผกาวัลย์ (Phakawan Hotel) โรงแรมที่มีการออกแบบห้องพักในสไตล์รีสอร์ท โฮมสเตย์ ห้องพักกว้างขวาง อยู่สบาย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องอย่างครบครัน และบริการที่น่าประทับใจ ราคา 600-750 บาท 3. โรงแรมพัฒนาโฮเต็ล (Pattana Hotel) โรงแรมในตัวเมืองมหาสารคาม เดินทางสะดวกสบาย เหมาะกับนักท่องเที่ยว การประชุมสัมนา และผู้ติดต่อธุรกิจ ให้บริการห้องพักปรับอากาศ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ราคา 800 บาท   4. โรงแรมตักสิลาแกรนด์ (Taksila Grand Hotel) โรงแรมหรูใจกลางเมืองมหาสารคาม ห้องพักได้รับการออกแบบและตกแต่งอย่างทันสมัย เพื่อความสะดวกสบายในวันพักผ่อนของผู้เข้าพัก อบอุ่นด้วยการต้อนรับจากพนักที่เป็นกันเอง ราคา 800-900 บาท   5. โรงแรมกรีน พาร์ค มหาสารคาม  (Green Park Hotel Mahasarakham) ที่พักที่ออกแบบในสไตล์โมเดิร์น มีการตกแต่งด้วยสีสันที่หลากหลาย แปลกตาน่าดึงดูด บรรยากาศภายในที่พักก็แสนรื่นรมย์ เป็นส่วนตัว ห้องพักโปร่ง โล่งสบาย ให้ผู้เข้าพักได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ในวันหยุด ราคา 815-1,572 บาท 6. โรงแรม สยามธารา พาเลซ (Siam Tara Palace Hotel) โรงแรมสยามธาราพาเลชเป็นโรงแรมในมหาสารคาม ที่ให้บริการห้องพักมาตราฐาน ทันสมัย สะอาด สวยหรู การเดินทางสะดวกสบาย พร้อมบริการที่มีคุณภาพ ราคา 850-1,750 บาท   7. โรงแรมนิวพัฒนา (New Pattana Hotel)  โรงแรมนิวพัฒนาให้บริการห้องพักในราคาแสนถูกพร้อมด้วยเครื่องปรับอากาศ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน  อยู่ห่างจากห้างสรรพสินค้าเสริมชัยเพียง 800 เมตร  ราคา 900 บาท 8. โรงแรม ยัวร์เพลส (Your Place Hotel) โรงแรมที่ตอบสนองความต้องการของคุณในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ห้องพักที่กว้างขวาง สะอาด สบาย พร้อมด้วยสิ่งอำนวยควาามสะดวกอย่างครบครัน และการบริการด้วยคุณภาพจากพนักงาน ราคา 1,000-1,500 บาท   9. โรงแรมตักสิลามหาสารคาม (Taksila Hotel) โรงแรมราคาประหยัด ใจกลางเมืองมหาสารคาม มีห้องพักหลากหลายแบบให้ผู้เข้าพักได้เลือกสรร ทุกห้องได้รับการตกแต่งอย่างทันสมัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยครบครัน ราคา 1,300-3,520 บาท

[1017/0][2015-07-14]

งานนมัสการพระธาตุนาดูน พระธาตุนาดูน หรือพุทธมณฑลอีสาน เป็นสถานที่ที่ค้นพบหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่แสดงว่าบริเวณแห่งนี้ เคยเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรื่องของนครจำปาศรี เมืองโบราณในอดีต อีกทั้งได้ขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 – 15 สมัยทวาราวดี จึงได้สร้างพระธาตุตามแบบสถูปที่ได้ค้นพบ และทุกปี จะมีการจัดงานนมัสการพระธาตุนาดูนขึ้น และในปีนี้กิจกรรมในงานประกอบด้วยขบวนแห่ประเพณี 12 เดือน, การทำบุญตักบาตร, การเวียนเทียนวันมาฆบูชา, การปฏิบัติธรรมวิปัสสนา, การออกนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ การแสดงแสง สี เสียง ประวัติความเป็นมานครจำปาศรี และการจัดร้านสินค้าชุมชน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ 043 – 797 129

[687/0][2015-05-29]

งานแห่เทียนพรรษา จังหวัดมหาสารคาม งานแห่เทียนพรรษา จังหวัดมหาสารคามจะจัดก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน ในงานจะมีขบวนแห่เทียนของคุ้มต่างๆ และมีการประกวดความสวยงามของเทียน รวมถึงพิธีหล่อเทียน 17 วัด แห่เทียนไปวัด ข้อมูลและรูปภาพจาก thai.tourismthailand.org

[970/0][2015-05-29]

พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน  พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน เสมือนเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความทุ่มเทและเสียสละของอาจารย์ บุญหมั่น คำสะอาด ในการที่จะสร้างสรรค์และจรรโลงคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมในบ้านเกิดของตนเองให้กับลูกหลานได้รับรู้  โดยใช้เวลาสะสมวัตถุต่างๆ ยาวนานกว่า 50 ปี ภายใต้พิพิธภัณฑ์ชั้นบนมีการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวอีสานตามประวัติศาสตร์ของศิลปิน นิสิต นักศึกษาที่หมุนเวียนกันมาจัดแสดงกันตลอดทั้งปี ตั้งอยู่บนเส้นทางมหาสารคาม-ร้อยเอ็ด ห่างตัวจังหวัดราว 7 กิโลเมตร เมืองมหาสารคาม 

[3102/0][2015-05-29]

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองมหาสารคาม ศาลหลักเมือง ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2408 เมื่อท้าวมหาชัย เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรกได้รวบรวมไพล่พลจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาตั้งเมืองใหม่ ได้สร้างศาลหลักเมืองและอัญเชิญเจ้าหลักเมืองมาประทับ เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดมหาสารคาม ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมาก ศาลหลักเมืองมหาสารคาม อยู่ติดถนนครสวรรค์ หน้าโรงเรียนหลักเมืองซึ่งเป็นถนนสายหลักที่แทบทุกคนจะต้องผ่านอยู่บ่อยๆ แม้กระทั่งคนที่คนเดินทางไกล กทม.ผ่านมหาสารคามไปยังกาฬสินธุ์-สกลนคร-บ้านแพง-เรณูนคร ก็จะต้องผ่านหน้าศาลหลักเมืองมหาสารคามด้วย ชาวเมืองและผู้ที่ผ่านไปต่างยกมือไหว้ หรือบีมแตรเมื่อผ่านหน้าศาลเมืองแห่งนี้เมืองนี้ชาวมหาสารคามเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก จึงทำให้ผู้คนที่ผ่านไปมาให้ความเคารพเชื่อถือกันหากใครต้องการสำเร็จในสิ่งใดผ่านมาก็เชิญแวะสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคล

[3102/0][2015-05-29]

วนอุทยานชีหลง วนอุทยานชีหลง เป็นเกาะซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนเส้นทางน้ำของแม่น้ำชี ซึ่งแต่เดิมลำน้ำชีไหลเวียนอ้อมพื้นที่บริเวณนี้ไปทางทิศเหนือและไหลวกกลับมาทางทิศใต้ ต่อมาสายน้ำได้ไหลกัดเซาะบริเวณ คอคอดจนขาดทำให้เกิดเส้นทางน้ำสายใหม่ส่วนเส้นทางน้ำสายเดิมที่มีลักษณะโค้งถูกแยกขาด ทำให้เกิดพื้นที่ตอนกลางมีลักษณะเป็นเกาะบน เกาะมีถนนตัดโดยรอบเต็มไปด้วยต้นยางขนาดใหญ่บรรยากาศร่มรื่น ห่างจากตัวเมือง 10 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอโกสุมพิสัย วนอุทยานชีหลง แห่ลงท่องเที่ยงอีกแห่ง ในจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่กว่า 119 ไร่ เป็นที่ราบ มีลำน้ำชีหลงล้อมรอบ วนอุทยานชีหลง มีพันธุ์ไม้หลายชนิด มีพื้นที่ตั้งในเขตการปกครอบของ ท้องที่บ้านวังหว้า หมู่ 6 ตำบลของยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม วนอุทยานชีหลง ได้รับการจัดตั้งให้เป็นวนอุทยานจากกรมป่าไม้ อย่างเป็นทางการในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2525

[3460/0][2015-05-29]

พิพิธภัณฑ์วัดมหาชัย วัดมหาชัย พระอรามหลวง อำเภอเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408 ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดเหนือต่อได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดมหาชัย เมื่อ พ.ศ 2482 เนื่องจาก พระเจริญราชเดชหรือท้าวมหาชัย (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคาม พร้อมด้วยกรรมการท้าวเพียเป็นผู้สร้างวัดนรี้ ภายในวัดมีโบสถาน โบราณวัตถุต่างๆ ให้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายในวัดมหาชัย ท่านเจ้าคุณพระอริยานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสได้รวบรวมโบราณวัตถุ และเอกสารต่างๆ ที่มีคุณค่าในด้านการศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมไว้จำนวนมาก ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 1000-2000 ปีขึ้นไป ได้จัดแสดงไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มที่ 1 กลุ่มศิลปะแกะสลักด้วยไม้ กลุ่มที่ 2 เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา กลุ่มที่ 3 ได้แก่ พระพุทธรูป กลุ่มที่ 4 เครื่องสำริด กลุ่มที่ 5 ได้แก่ เอกสารใบลาน กลุ่มที่ 6 ได้แก่ วรรณกรรม อยู่เป็นจำนวนมาก  พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือวัดมหาชัยเกิดจากเมื่อปี พ.ศ. 2507 พระอริยานุวัตร เจ้าอาวาสวัดมหาชัย ได้เห็นชาวต่างชาติได้มาขอซื้อของเก่าแก่ และวัตถุโบราณจากชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ใบเสมาหิน พระพุทธรูป สมัยโบราณ บานประตู คันทวยแกะสลักอายุประมาณ 100-200 ปี ต่อมาทางผู้ว่าราชการจังหวัดขณะนั้นคือ นายกิตติ ประทุมแล้วได้เห็นความสำคัญจัดตั้งคณะกรรมการบริการจัดการพิพิธภัณฑ์ขึ้น โดยมีพระอริยานุวัตร (อารีย์ เมขมจารี) เป็นประธานหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมกันจัดหางบประมาณก่อสร้างอาคารจัตรมุข 1 หลังและจัดหาวัสดุอุปกรณ์โบราณวัตถุ พร้อมทั้งเอาสารโบราณต่างๆ มาเก็บรวบรวมไว้ที่มหาลัย จึงทำให้วัดมหาชัยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแหล่งหนึ่งที่ผู้สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้

[3078/0][2015-05-29]

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เปิดให้ชมในวันและเวลาราชการ และวันเสาร์เปิดครึ่งวัน ปิดวันอาทิตย์ (หากติดต่อล่วงหน้าสถาบันฯ ก็ยินดีเปิดให้ชมเป็นพิเศษ)ผู้เข้าชมจะได้ความรู้เกี่ยวกับ ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ความเป็นมาของการทอผ้า การประยุกต์ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง และงานศิลปะร่วมสมัย นิทรรศการเป็นแบบถาวร ข้อมูลน่าสนใจ  พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก เป็นพระพุทธรูปที่จำลองแบบมาจากพิมพ์ดินเผาที่พบในเขตอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยปาละวะ หรือคุปตะตอนปลายตรงกับสมัยพุทธศตวรรษที่ 13 โดยอาจารย์อาคม วรจินดา ผู้อำนวยการสถาบันศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ร่วมกับคณาจารย์ใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ได้ดำริให้จำลองขึ้นมาจากพระพิมพ์ต้นแบบของ นายประพิส ทองโรจน์ ในการจัดสร้างครั้งนั้น มี พล.โท ลักษณ์ ศาลิคุปต์ แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นประธานและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในภาคอีสาน ร่วมกัน ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จำนวนกมาก ร่วมเป็นกรรมการครั้งนั้น นอกจากองค์พระประธานนี้แล้ว ได้มีการจำลองพระะพุทธรูป ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว ขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานให้แก่จังหวัดในภาคอีสานทุกจังหวัด

[2439/0][2015-05-29]

แก่งเลิงจาน อ่างเก็บน้ำเลิงจาน มีสวนสุขภาพแก่งเลิงจาน ที่กว้าง โล่ง ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนและการออกกำลังกาย มีการจัดงบประมาณเพื่อการพัฒนาอ่างเก็บน้่ำแก่งเลิงจากให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม มีการปรับปรุงรอบๆ เขื่อนคันดินให้กว้าง ปลูกต้นไม้ และจัดสวนสุขภาพตลอดคันความยาวของคันดิน สร้างพิพิธภัณฑ์ ศาลากลางน้ำ และอื่นๆ เพื่อให้ผู้ที่ผ่านไปมาและนักท่องเที่ยว ได้เยี่ยมและทัศนศึกษา เนื่องจากจังหวัดมหาสารคามมีสถานที่ท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย และเป็นจังหวัดเดียวของภาคอีสานที่ไม่มีภูเขาเลย อ่างเก็บน้ำ แก่งเลิงจานจึงถูกใช้เป็นทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

[3283/0][2015-05-29]

หมู่บ้านปั้นหม้อ มหาสารคาม หมู่บ้านปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงสาย 208 มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด 4 น้ำหม้อแกงกรรมวิธีแบบโบราณ เป็นหมู่บ้านที่มีหนองน้ำซึ่งเป็นวัตถุดิบอย่างดีให้กับชาวบ้านเพื่อนำมาใช้ในการปั้นหม้อ และชาวบ้านที่อยู่บริเวณนี้ได้นำเอาดินมาทำการปั้นหม้อ ซึ่งเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา หมู่บ้านนี้จึงเรียกว่า บ้านหม้อ วิธีการทำทำ โดยผู้ชายจะลงไปขุดดินเหนียวที่อยู่ใต้น้ำบรรทุเรือ ดินเหนียวที่ขุดดังกล่าว จะนำไปถูกเก็บไว้ในใต้ถุนบ้านของแต่ละครอบครัว เมื่อชาวบ้านได้ดินเหนียวมาส่วนหนึ่ง จะนำมาผสมกับแกลบ ปริมาณเท่าๆกัน ปั้นให้เป็นก้อนขนาดเท่าลูกมะตูม นำไปผึ่งแดด ให้แห้งแล้วนำไปเผาไฟจนแดงดิน แล้วนำมาบดหรือโขลดด้วยครกไม่ให้เป็นผงละเอียด ชาวบ้านเรียกดินนี้ว่า ดินเชื้อ ชาวบ้านจะนำเอาดินเชื้อไปนวดผสมกับดินเหนียวที่เตรียมอีกส่วนหนึ่ง นวดเข้ากันแล้วก็นำมาขึ้นรูปหม้อประเภทต่างๆ

[3459/0][2015-05-29]

กู่มหาธาตุ ปรางค์กู่บ้านเขวา กู่บ้านเขวา เป็นศาสนาในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ก่อด้วยศิลาแลงจากรูปแบบและองค์ประกอบทางสถานปัตยกรรมจึงส่งให้ปรางค์กู่บ้านเขวาเดเป็นโบราณสถานที่อยู่ในกลุ่มโรคยาศาลหรือสถานพยาบาล ซึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 18 โปรดสร้างขั้นจำนวน 107 แห่ง ในพระราชอาณาจักรคือนอกจากจะสถานพยาบาลแล้ว ยังมีการสร้างศาสนสถานประจำสถานพยาบาลแต่ละแห่งไว้คู่กันด้วย ศาสนสถานแห่งนี้มีรูปแบบกำหนดที่คล้ายคลึงกันคือประสาทประธาน บรรณาลัยล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วนอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ นอกจากนี้ยังพบจารึกที่วงกบประตูห้องมุขหน้าของปราสาทประธานเป็นจารึกอักษรขอม ภาษาสันสกฤต จำนวน 2 บรรทัด แปลได้ว่า เชิญบูชาพระเจ้าที่อยู่ในอาศรม กำหนดอายุจากรูปอักษรไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 และยังพบพระพุทธรุปบุเงินบรรจุในไหหลายสิบองค์ เป็นศิลปะกรรมสมัยวัฒนธรรม กู่บ้านเขวา ตั้งอยู่ที่บ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมือง ไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กม. 

[3817/0][2015-05-29]

กู่สันตรัตน์ กู่สันรัตน์ ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าอำเภอนาดูน ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 4 กิโลเมตร สร้างด้วยศิลาแลงเป็นศิลปะขอมแบบ บายน มีรูปลักษณะประสาทหินที่มีปรางค์ประธานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีด้านหน้ายื่นไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัยซึ่งเป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ห้นห้าเข้าปรางค์ประธาน อาคารทั้งสอง 2 ล้อมด้วยกำแพงศิลาแลง สร้างยังไม่เสร็จเรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง กู่สันรัตน์สร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐานรูปเคารพสำหรับพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นโรคยาศาล คือเป็นที่พักรักษาพยาบาล คนเจ็บป่วยอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็นพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเคยศาล คือเป็นที่พักรักษาพยาบาลคนเจ็บป่วยอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเคยเสด็จทอดพระเนตร และทรงเยี่ยมราษฎรที่กู่สันรัตน์แห่งนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2 พ.ศ. 2514 บ้านกู่โนนเมือง ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม กู่สันตรัตน์เป็นศาสนประจำโรงพยาบาล ที่เรียกว่า อโรคยศาล สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ประกอบด้วยประสาททรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมก่อมุขยื่นด้านหน้า หรือด้านทิศตะวันออกและวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มุขด้านหน้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีโคปุระหรืออาคารประตูซุ้มขนาดใหญ่ทางด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ่ากรุด้วยศิลาแลง โบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ พระวัชรธร พระพุทธรูปนาคปรก และพระโพธิสัตว์โลกิเตศวร ประติมากรรมหินทราย เหล่านี้เป็นรูปเคารพลัทธิมหายาน รูปแบบศิลปะขอมแบบบายัน (ราว พ.ศ. 1720 - 1780) กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจนุเบกษา เล่มที่ 52 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และประกาศขอบเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2525 พื่นที่ 5 ไร่ งาน 91 ตารางวา

[3334/0][2015-05-29]

พระธาตุนาดูน พระธาตุนาดูน เมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่บ้านนาดูน มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี บริเวณแห่งนี้เคยเป็นจุดศูนย์การความเจริญรุ่งเรืองของนครจำปาศรี เมืองโบราณในอดีต โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบ ได้นำไปแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13.15 สมัยทราวดี นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูป พระพิมพ์หลายแบบจำนวนมาก สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทีค้นพบด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ตัวสถูปหรือองค์ระฆัง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตัวสถูปเป็นส่วนบรรจุ พระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนดอกไม้ และตอนคอสถูปเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุ โดยผอบจะบรรจุพร้อมกับ 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบทองสำริด ทุกผอบมีฝาปิดมิดชิด ภายในผอบทองคำมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 1 องค์ มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่นขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์เมื่อเปิดออกมาจะมีกลิ่นหอมมาก 2. ส่วนยอดทำด้วยทองสำริดกลมตัว ทำเป็นปล้องไฉนลูกแก้วและปลียอด ตอนต้นทำเป็นเกลียวสามารถปิดประกอบกับส่วนตัวองค์สถูปได้พอดี ต่อมารัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุขึ้นในบริเวณที่ขุดพบสถูป เนื้อที่ 902 ไร่ โดยใช้สถูปที่ค้นพบมาเป็นแบบในการก่อสร้างพระธาตุนาดูน องค์พระธาตุมีความสูง 50.50 เมตร จำลองรูปทรงแบบสมัยทวารวดี ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2530 โดยเสด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนาดูน นอกจากนี้ แหล่งโบราณสำคัญ รอบองค์พระธาตุนาดูน เป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัยรุกขเวช ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ ทั้งสวนสมุนไพร

[4640/0][2015-05-29]

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน เกิดจากการก่อตั้งสถานีวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อศึกษาพันธุ์ไม้ พันธุ์ไผ่ พืชสมุนไพร ซึ่งเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ต่อมาจึงมีการเพิ่มเติมเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมอีสาน จึงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานตามแบบประเพณีเดิม พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน เกิดขึ้นจากความคิดที่ว่า การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่สมดุลกัน ระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณอีสาน เพื่อที่จะอธิบายสภาพชีวิตของสังคมและวัฒนธรรมอีสานด้วยข้าวและน้ำ เพราะอีกเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนา ทีต้องอาศัยน้ำเป็นหลักสำคัณและยังโยงไปสัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตที่ผู้คนจะต้องเกี่ยวข้องกันเรื่อง ปลงพืชพันธ์ป่าไม้ และรวมทั้งเกลือด้วย จากนั้นจึงดเนินการสร้างพิพิธภัณฑ์ด้วยการบ้างเรือนที่อยู่อาศัยของชาวอีสาน

[5139/0][2015-05-29]

พระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ สูง 4 เมตร ศิลปะทวารวดี สร้างขึ้นจากจากหินทรายสีแดง เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดมหาสารคาม มีพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธรูปมิ่งเมือง วัดสุวรรณาวาส ตำนานก่าวว่าพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ สร้างขึ้นในเวลาเดียวกัน เมื่อครั้งที่อำเภอกันทรวิชัยเกิดฝนแล้ง ผู้ชายได้สร้างพระพุทธรูปมิ่เมืองส่วนตัวผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยิ่งมงคล เมื่อแล้วเสร็จได้ทำการเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร นับแต่นั้นเป็นต้นมาฝนก็ต้องตามฤดูกาล เมื่อ พ.ศ. 2760 ได้มีการต่อเติมพระกรและเศียรพระพุทธรูปยืนมงคลของเดิมที่หักหายไป พระพุทธรูปยืนมงคลตั้งอยู่ที่วัดพุทธมงคล ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตร

[4462/0][2015-05-29]

พระพุทธรูปมิ่งเมืองหรือพระพุทธรูปสุวรรณมาลี พระพุทธรูปมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีสร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุธทรูปยืนมงคลเสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองยางมโหฬาร ปรากฎว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล พระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปสององค์ และพระพิมพ์กันทรวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคาระบูชาของชาวอำเภอกันทรวิชัย และชาวจังหวัดมหาสารคามทุกคน ไม่ว่าจะกราบไหว้ขอพร หรือบนบานศาลกล่าว ก็ได้สมใจนึกทุกประการ ตำนานเรื่องเล่าของพระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง พระพุทธรูปยืนสุวรรณาวาส อำเภอกันทรวิชัย มีเรื่องเล่าว่าถิ่นที่เป็นอำเภอกันทรวิชัยปัจจุบันนี้ เดิมเป็นเมืองชื่อ เมืองคันธาร์ธิราช มีเจ้าเมืองขอมปกครอง ต่อมาได้กลายเป็นเมืองน้างเจ้าเมืองคันธาร์ธิราชองค์สุดท้ายชื่อ ท้าวลินทองหรือสิงห์โตดำ ท้าวสิงโตดำมีนิสัยโหดร้ายและแย่งราชสมบัติจากบิดา โดยจับขังแลให้อดอาหารจนเสียชีวิต และสั่งให้ฆ่าพระมารดาที่พยายามแอบนำอาหารไปให้ ภายหลังท้าวสิงโตดำเมืองได้ครองเมืองแล้ว เกิดมีแต่ความร้อนรุ่มกระวนวาน โหรจึงแนะนำให้สร้างพระพุทธรูปเพื่อนล้างบาป ท้าวสิงโตดำจึงได้สร้างพระพุทธรูป ยืน 2 องค์ องค์หนึ่งอยู่กลางเมืองเพื่อระลึกถึงพระพุทธรูปยืนองค์ปัจจุบัน อยู่ใต้ต้นโพธิ์ในวัดพุทธมงคลบ้านสระ และเมื่อพรเจ้าสิงโตสิ้นชีวิตชาวบ้านได้นำไปฝังที่ป่านอนเมืองและสร้างพระนอกเหนือหลุมฝันศพ ปัจจุบันเรียกว่า ดอนพระนอน กล่าวกันว่า ผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้จะประสบโชคร้าย เนื่อจากกระแสแห่งความโหดร้ายของท้าวสิงโต ปัจจุบันนี้ไม่มีผู้พบเห็นพระนอนคงค์นี้อีกเลย

[3148/0][2015-05-29]