วัดระหาน วัดระหาน (เกาะแก้วธุดงคสถาน) อยู่ที่ ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ภายในวัดประดิษฐานพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ เพื่อเป็นปูชนียสถานระลึกถึงองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ลักษณะขององค์พระมหาเจดีย์ เป็นศิลปะประยุกต์ร่วมสมัย ความสูง 60 เมตร มี 4 ชั้น   ชั้นที่ 1 ใช้ประโยชน์เป็นศาลาอเนกประสงค์ ชั้นที่ 2 เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ชั้นที่ 3 เป็นอุโบสถ พิพิธภัณฑ์และที่ประดิษฐานรูปเหมือนของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ชั้นที่ 4 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งสมเด็จพระสังฆนายกฝ่ายสยามวงศ์ และพระอัครมหาบัณฑิต วิมละรัตนะ เจ้าอาวาสวัดศรีเวฬุวนาราม ประเทศศรีลังกา ได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุและหน่อพระศรีมหาโพธิ์ แก่พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ) เมื่อปี 2547 ส่วนต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้ปลูกไว้ด้านหลังพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ ภายในวัดเกาะแก้วธุดงคสถาน เป็นสถานที่สงบร่มรื่น และมีนกยูงอาศัยอยู่จำนวนมาก เหมาะสำหรับพุทธศาสนิกชนที่ต้องการไปกราบไหว้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ทำบุญและปฏิบัติธรรม

[473/0][2020-07-13]

วัดชนะตาราม วัดชนะตาราม เป็นวัดประจำอำเภอชำนิ เป็นวัดที่ชาวบ้านให้ความศรัธทาเคารพบูชา และมักจะมีข้าราชการที่ย้ายมาอยู่ที่ อ.ชำนิ มากราบไหว้ขอพร เพื่อความเจริญก้าวหน้า

[484/0][2020-07-13]

กุดทะเลสวน บ้านม่วงทะเล กุดทะเลสวน บ้านม่วงทะเล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ น้อยคงยังไม่ค่อยรู้จักนัก ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติในแบบวิถีชุมชน กุดทะเลสวยตั้งอยู่ในเขตของชุมชนบ้านม่วงทะเล มีกิจกรรมให้ได้เรียนรู้วิถีชุมชนเช่น การนั่งเรือเก็บดอกบัว อีกทั้งยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

[623/0][2020-07-13]

สวนเจริญรัตน์ อำเภอห้วยราช สวนเจริญรัตน์ อำเภอห้วยราช ตั้งอยู่ใน ต.สามแวง อำเภอ ห้วยราช บุรีรัมย์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อเรื่องการเพาะปลูกอินทผลัม เหมาะสำหรับซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน หากใครมาที่อำเภอห้วยราชแห่งนี้แล้วต้องการกินอินทผลัมละก็อย่าลืมซื้อไปด้วยละ

[641/0][2020-04-28]

พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ อำเภอหนองหงส์ พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ อำเภอหนองหงส์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงโบราณสถานเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และสิ่งของโบราณภายในพิพิธภัณฑ์ที่ค้นพบในอำเภอหนองหงส์ เหมาะสำหรับมาทัศนศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์

[474/0][2020-04-28]

หาดปราสาททอง หนองกี่ หาดปราสาททอง หนองกี่  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ที่ อ่างเก็บน้ำทุ่งกระเต็น ต.เย้ยเย้ยปราสาท อ.หนองกี่ ซึ่งเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 59 ที่ผ่านมา

[452/0][2020-04-28]

ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสตึก ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสตึก ตั้งอยู่ใน ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นศูนย์วัฒนธรรมและแหล่งการเรียนนรู้ของอำเภอสตึก อยู่ใกล้กับโรงเรียนสตึก

[395/0][2020-04-27]

ปราสาทห้วยแคน ปราสาทห้วยแคน ตั้งอยู่ใน ตำบล ผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่นึงของอำเภอลำปลายมาศ

[385/0][2020-04-27]

วัดโคกตาพรม อำเภอละหานทราย วัดโคกตาพรม ตั้งอยู่ใน ตำบล ตาจง อำเภอ ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ใกล้กับ โรงเรียนบ้านโคกตาพรม    

[471/0][2020-04-27]

กุมภลักษณ์หินหลุมโบราณ 150 ล้านปี หินหลุมหรือกุมภลักษณ์ (หลุมลักษณะเหมือนหม้อ) เป็นแหล่งหินหลุมที่เกิดตามธรรมชาติมีลักษณะเป็นหลุม ณ จุดๆ เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พบไม่น้อยกว่า  16 หลุม มีหลายขนาดตั้งแต่กว้างปากหลุม  40 เซนติเมตร – 3 เมตร ความลึกตั้งแต่  25 เมตร –  40 เมตร  โดยค้นพบจากชาวบ้านที่บ้านโคกใหม่ประมาณปี พ.ศ. 2502 สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บนลานหินทรายทิศตะวันออกเฉียงใต้ บ้านสันติสุข ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์  ประมาณ 1 ก.ม.

[810/0][2020-04-17]

วัดเกาะแก้ว พลับพลาชัย วัดเกาะแก้ว เป็นวัดตั้งอยู่ในหมู่ 11, ตำบลสะเดา อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ติดกับคลองตะแบก เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลจากพื้นที่ชุมชน เหมาะสำหรับมาปฎิบัติธรรม หรือจัดพิธีกรรมทางศาสนาเมื่อจำเป็น

[432/0][2020-04-17]

วัดกระดึงทอง บ้านด่าน วัดกระดึงทอง ตั้งอยู่ใน 1 วัดกระดึงทอง ตำบล บ้านด่าน อำเภอ บ้านด่าน บุรีรัมย์ มี หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม หรือ พระราชปัญญาวิสารัท เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ และเป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ 

[425/0][2020-04-14]

อุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน อุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน ตั้งอยู่ใน 252 หมู่7 ตำบล คูเมือง อำเภอ คูเมือง บุรีรัมย์ พื้นที่ภายในถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ เพ ลา เพลิน บูติครีสอร์ท และ อุทยานไม้ดอกเพ ลา เพลิน บริเวณหน้าทางเข้าด้านหน้าเป็นส่วนของโซนต้อนรับจะมีพื้นที่ขายบัตรเข้าชมอุทยานไม้ดอก ซึ่งจะมีรถรางนำเข้าไปในพื้นที่ในส่วนของอุทยานดอกไม้ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังจากนั้นเดินชมไปยังโรงเรือนต่างๆซึ่งเชื่อมต่อกัน โดยอุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลินขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามของดอกไม้นานาชนิด เป็นอีกหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อยอดนิยมของอำเภอคูเมืองแห่งนี้เลยทีเดียว

[419/0][2020-04-14]

วัดดงบัง วัดดงบัง เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี มีประวัติเริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2350 นับเวลาร่วม 200 ปี พระอุโบสถหลังเก่าตั้งแต่เริ่มสร้างวัดยังคงอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เห็น พระประธานในอุโบสถหลังเก่าเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลายปรางสมาธิ ยังคงความงดงามสมบูรณ์เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านดงบังและละแวกใกล้เคียง

[354/0][2020-04-14]

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง มีพิธีเปิดงาน ในวันที่ 31 มีนาคม 2560 โดยจัดพิธีบวงสรวงพนมรุ้ง การจัดขบวนแห่ ประกอบด้วย ขบวนพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี ขบวนเทพพาหนะ จาก 6 อำเภอ เพื่อถวายเป็นเทวาสักการะแด่เทพผู้พิทักษ์ทิศทั้ง 10 แห่งจักรวาลได้แก่หงส์ ช้าง โค ระมาด คชสีห์ นกยูง นาค ม้า รากษส กระบือ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงแสง สี เสียง สุดตระการตา และจัดตลาดอารยธรรมวนัมรุง และการแสดงผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ได้ชมและเลือกซื้อตลอดทั้ง 3 วัน

[424/0][2017-03-29]

ที่พัก บุรีรัมย์ ราคาถูก 1. ทัศนีย์ รีสอร์ท (Tassanee Resort) รีสอร์ทสำหรับวันพักผ่อนด้วยการตกแต่งในโทนสีสบายๆ ใกล้ชิดธรรมชาติ ราคาสบายกระเป๋าแต่พร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ราคา 480 บาท   2. บุรีรัมย์ สิริ รีสอร์ท (Buriram Siri Resort) โรงแรมหรูแนวโมเดิร์น ทรอปิคอล สไตล์รีสอร์ท ห้องพักทุกห้อง เป็นแบบห้องพักหลังเดี่ยวไม่ติดกัน บางหลังสามารถนำรถเข้าไปจอดติดห้องพักได้และยังมีห้องพักพิเศษขนาดครอบครัวแบบสองห้องนอนบนบ้านหลังเดียวกันให้เลือกสำหรับการพักผ่อนที่แสนอบอุ่น ราคา 600-700 บาท   3. ธัญรัศม์ รีสอร์ท (Tanyarat Resort) โรงแรมราคาประหยัดที่เพรียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพัก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ตู้เย็น เคเบิ้ลทีวี เครื่องทำน้ำอุ่น กาเฟ น้ำดื่ม สบู่ แชมพู ผ้าเช็ดตัว ราคา 650-800 บาท   4. เดอะ ปาร์ค นางรอง (The Park Nangrong) รีสอร์ท หรู ระดับ 3 ดาว ท่ามกลางบรรยากาศที่ร่มรื่นและเงียบสงบ อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น ปราสามเขาพนมรุ้ง ฯลฯ พร้อมให้บริการห้องพัก 24 ห้อง ตกแต่งสวยงาม สะอาด สไตล์ ธรรมชาติ พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ราคา 720-900 บาท   5. โรงแรมเทพนคร (Thepnakorn Hotel Buri Ram) โรงแรมอันดับหนึ่งและใหญ่ที่สุดในจังหวัดบุรีรัรมย์ มีห้องประชุมทั้งหมด 15 ห้องสัมมนา ห้องพักตกแต่งอย่างหรูหราและกว้างขวาง ราคา 950-3,800 บาท   6. พนมรุ้งปุรี (Phanomrungpuri) โรงแรมที่รายล้อมไปด้วยปราสาทหิน ธรรมศาลาและอโรคยาศาลาต่างๆ อาทิเช่น ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำ ห้องพักตกแต่งอย่างเรียบง่ายแต่ลงตัว ราคา 1,300-4,850 บาท   7. โรงแรมธาดา ชาโตว์ (Thada Chateau Hotel) โรงแรมธาดา ชาโตว์ เป็นตัวเลือกที่พักที่ดีของบุรีรัมย์ ด้วยบริการที่เหนือกว่าและหลากหลาย ที่ตั้งที่สะดวกสบายทำให้ง่ายต่อหารเดินทาง ราคา 1,650-3,800 บาท   8. โรงแรมเอกลดา (Akelada Hotel)  โรงแรมเอกลดาให้บริการความสะดวกสบายเต็มรูปแบบกับห้องพักหลากหลายสไตล์ที่ทันสมัยและหรูหรา ไม่ซ้ำใคร  ราคา 1,200-4,000    9. อมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (Akelada Hotel) โรงแรมที่ให้บริการที่พักที่มีความสะดวกสบายที่ทันสมัยด้วย โดยมีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของนักฟุตบอลเป็นแรงบันดาลใจการตกแต่ง นอกจากนี้โรงแรมยังตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับปราสาทเมืองต่ำ และอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอีกต้วย ราคา 1,732-2,308 บาท

[1076/0][2015-07-01]

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างและใช้เป็นเทวสถาน ต่อเนื่องกันมา หลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมหันมานับถือศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้ จึงคงจะได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายานในช่วงนั้น ตัวโบราณสถาน ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ ที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร จากพื้นราบ คำว่า "พนมรุ้ง" หรือ "วนํรุง" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "ภูเขาใหญ่" ปราสาทพนมรุ้งหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบ ด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ตั้งเรียง รายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธาน บนยอดอัน เปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน

[6237/28][2015-05-29]

ปราสาทเมืองต่ำ ประวัติ ปราสาทเมืองต่ำสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะปาปวนตอนต้น และลดความสำคัญลงไปในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และถูกทิ้งร้างในที่สุด จนเมื่อราวปี พ.ศ. 2490 จึงเริ่มมีการอพยพเข้ามาของชาวบ้าน มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคำว่า เมืองต่ำ นี้ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ในที่ต่ำกว่าปราสาทพนมรุ้ง โดยมวลสารวัตถุจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในที่นี้ รัชกาลที่ 9 ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ปราสาทแถวหลังทิศใต้(ซ้าย) และปราสาทแถวหลังทิศเหนือ(ขวา)ปราสาทเมืองต่ำน่าจะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย เพราะถึงแม้ได้มีการขุดพบศิวลึงค์ แต่ภาพสลักส่วนมากที่ปราสาทนี้ ล้วนเป็นภาพเกี่ยวกับการอวตารของพระนารายณ์ อีกทั้งเป็นปราสาทน้ำล้อม ซึ่งเป็นลักษณะของไวษณพนิกาย ต่างจากปราสาทบนภูเขาของไศวนิกาย ปราสาทเมืองต่ำมีปรางค์ประธานห้าองค์บนฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ โดยแต่ละองค์มีรายละเอียดดังนี้ ปรางค์ประธาน ปรางค์ประธานปัจจุบันได้ถล่มลงมาแล้ว พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่าตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย ปราสาทประกอบอีก 4 หลังเป็นปราสาทอิฐ ปัจจุบันได้รับการบูรณะในสภาพสมบูรณ์ และมีหน้าบันด้านหน้าอยู่ครบ โดยปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ มีหน้าบันเป็นภาพพระวรุณเทพประทับเหนือหงษ์ ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือเป็นภาพพระกฤษณะ (ร่างอวตารของพระวิษณุ) ยกภูเขาโควรรธนะ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้เป็นภาพพระอินทร์ ปางมหาราชลีลาสนะ (นั่งชันเข่า) ประทับเหนือหน้ากาล ส่วนปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ เป็นภาพพระศิวะคู่พระอุมา ประทับบนโคนนทิในปาง อุมามเหศวร

[4651/0][2015-05-29]

ปราสาทบ้านบุ ปราสาทบ้านบุ ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ ตำบลจระเข้มาก ลักษณะของตัวปราสาท มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมของสิ่งก่อสร้างที่เชื่อกันว่าเป็นที่พักสำหรับคนเดินทาง (นักแสวงบุญ) ตามที่กล่าวถึงในจารึกประวัติศาสตร์พระขรรค์ ประเทศกัมพูชา ลักษณะเป็นอาคารรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 5.10 เมตร ยาว 11.50 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง กรอบประตูหน้าต่างทำด้วย ศิลาทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูเข้า ออกเชื่อมติดกับองค์ปรางค์ทางด้านหน้า ภายในมีแท่นวางรูปเคารพอยู่ 1 แท่น พบชิ้นส่วนทับหลัง สลักภาพพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้ม เรือนแก้ว 2 ชั้น ซึ่งเป็นหลัก ฐานยืนยันอายุการสร้างและลัทธิทางศาสนาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ห่างจากอาคารประมาณ 4 เมตร มีร่องรอยกำแพงก่อด้วยแลงเหลือเป็นแนวเสมอพื้นดินพอให้รู้ขอบเขต

[4831/4][2015-05-29]

แหล่งหินตัด บุรีรัมย์ แหล่งหินตัด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว การเดินทางใช้ เส้นทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข 219 ต่อด้วยทางสายประโคนชัย-บ้านกรวด ทางหลวงหมายเลข 2075 เดินทางเลยบ้านกรวดไปทางละหานทราย 6 กม. มีแยกซ้ายเข้าแหล่งหินตัดอีก 2 กม. ทางลาดยางตลอดสาย แหล่งหินตัดนี้ เป็นแหล่งหินทรายที่คนสมัยขอม ตัดเอาไปสร้าง ปราสาทต่างๆ ในเขตอีสานใต้ ทั่วบริเวณ มีหินทรายก้อนใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ทั่วไป บางก้อนยังมีร่องรอย สกัดหินปรากฏอยู่ นอกจากนั้น บริเวณนี้ยัง เป็นสถานปฏิบัติธรรมของวัดสวนธรรมศิลา ได้รับการดูแลและ ปรับปรุงสถานที่ให้สะอาดสวยงาม และมีทางเดินจากแหล่งหินตัดไปยังจุดชมวิวบนยอดเขา

[4021/6][2015-05-29]